ทีมวิจัยสรุปพื้นที่และประชาชนประสบภัยน้ำท่วม น้ำฝน น้ำเขื่อน น้ำท่า น้ำท่วมล่วงหน้า ดังนี้
พื้นที่ที่ยังน้ำท่วมครอบคลุม 9 จังหวัด ขนาด 896,280 ไร่ (ณ วันที่14 กันยายน 2567)
มีประชาชนในตำบลประสบภัย 2,555,958 คน และเป็นผู้เปราะบาง 1,044,780 คน
ปริมาณน้ำฝนยังมีปริมาณสูงในบริเวณแนวภาคกลาง อีสอนตอนใต้ และอีสานเหนือ
ปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อนภูมิพล 52% เขื่อนสิริกิติ์ 84% เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 50% และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 37%
แนวโน้มน้ำท่าสูงสุดใน 10 วันข้างหน้า
จ.กำแพงเพชร เพิ่มจาก 120 ลบ.ม./วินาที เป็น 245 ลบ.ม./วินาที
จ.พิษณุโลก เพิ่มจาก 282 ลบ.ม./วินาที เป็น 412 ลบ.ม./วินาที
จ.อุทัยธานี เพิ่มจาก 40 ลบ.ม./วินาที เป็น 67 ลบ.ม./วินาที
จ.นครสวรรค์ เพิ่มจาก 1,246 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,336 ลบ.ม./วินาที
จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มจาก 1,196 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,457 ลบ.ม./วินาที
ต้องระวังปริมาณฝนตกหนักในช่วงอาทิตย์หน้า และโอกาสมีพายุไต้ฝุ่นในปลายเดือนกันยายนอีก
มีผลประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากภาวะน้ำท่วม ระดับตำบล ปี 2567
(แสดงพื้นที่น้ำท่วม ความเสียหาย จำนวนประชาชนที่ประสบภัย) ตาม link นี้
https://drive.google.com/drive/folders/15WQnNsMlNJbkb-E9hq3mKisn-89P7-Ma?usp=sharing
(ผลงานวิจัยจากทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้แผนงานการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย ด้านการจัดการน้ำ สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ)
อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.eng.chula.ac.th/th/49465