เมนู

วิเคราะห์อนาคตน้ำไทยและทางรอดรับมือโลกผันผวน กับ รศ.สุจริต คูณธนกุลวงศ์

วิเคราะห์ก้าวต่อไปจัดการน้ำอนาคตลดการใช้น้ำกับ รศ.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ภาพรวมการจัดการน้ำไทย รศ.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกประเทศเมื่อมีเจริญเติบโต ความต้องการใช้น้ำก็มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจ จึงทำให้แนวโน้มการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น แต่ในมุมของการจัดหาน้ำเรามีข้อจำกัด โอกาสที่จะสร้างเขื่อนใหม่ก็ยากขึ้น และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ฝนไม่ตามฤดูกาล ทำให้การจัดการยากขึ้น แนวโน้มการขาดแคลนน้ำในอานคตก็จะมีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นกว่าในอดีต “การจัดน้ำแต่ละภาคส่วนในแง่ความเสี่ยงเราต้องมองพื้นที่ไหนมีพื้นที่มากที่จะได้รับความเสี่ยง โดยสำหรับประเทศไทย ภาคกลาง และ พื้นที่ Eastern Economic Corridor (EEC) หรือ เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ที่รวมกันแล้ว ก็มี GDP รวมกันกว่า ร้อยละ 60-70 ถ้าจุดนี้มีปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็จะหยุดเลย ในแง่การโฟกัสต้องมองด้านนี้ ซึ่งหากมองแล้วก็มาแยกว่าภาคเกษตรคืออะไร ภาคอุตสาหกรรมคืออะไร ภาคบริหารคืออะไร บ้านเรือนคืออะไร แต่ในตรงนี้เราก็มาแยกแยะอีกว่า ภาคเกษตรเองมีการใช้น้ำมากที่สุดเกือบร้อย 70 เพราะถ้าเราลดภาคเกษตรร้อยละ 10-15 ได้มันก็จะมาใช้ในส่วนภาคอื่นได้ดียิ่งขึ้น หากทุกภาคส่วนยิ่งรวมกันทำก็จะยิ่งเพิ่มมูลค่าได้ดีมาก” อนาคตประเทศไทยอาจเสี่ยงขาดแคลนน้ำ หากไม่ทำอะไรเลย เพราะแนวโน้มจะมีการเติบโตมาจากการที่เรามีกิจกรรมต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น เช่น ถ้ามีการเติบโต 4-5 % ถ้ามองระยะยาว 10-20 ปี ถ้าเราสามารถประหยัดน้ำได้ 20 % ก็จะสามารถชดเชยในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น อนาคตข้างหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราควรจะมี Buffer 10-20 % แล้วเราก็หาแหล่งน้ำสำรองอีก 10-20 % มันก็จะได้เกิดเป็นสมดุลใหม่ อย่างการเติบโตใช้น้ำไปมันก็มีวันหมด หรือถ้าเกิดแล้งจริง ๆ เลยมันก็ต้องอยู่ได้ เราต้องมีแผน 2 แผน แผนประหยัดน้ำ และแผนใช้น้ำสำรอง และแผนเผื่อสำหรับยามฉุกเฉินนี้คือภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ต้องเผื่อไว้เลย

Share your love