ข้อมูลตัวเลขจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่าช่วงวันที่ 26 กันยายน – 23 ตุลาคม 2566 มีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 38 จังหวัด 159 อำเภอ และยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังเสี่ยงกับการเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันและน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งอาจดูสวนทางกับการรายงานเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ที่ว่า ประเทศไทยเดินเข้าสู่ “ภาวะร้อน แล้ง” หรือปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ตั้งแต่ช่วงกลางปี และจะคงอยู่ต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า
“ภาวะผันผวน” ที่กำลังเกิดขึ้น สอดรับกับที่ก่อนหน้านี้องค์การสหประชาชาติออกมาเปิดเผยว่า ยุค “โลกร้อน” ได้สิ้นสุดลง และเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” แล้ว เป็นการส่งสัญญาณเตือนทั้งโลกว่าภัยพิบัติ ไม่ว่า น้ำท่วม หรือ ภัยแล้ง มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง
เรื่องนี้สอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายถึงความรุนแรงของการเกิดภัยในระยะหลัง ที่เกิดบ่อย ถี่ และทวีความรุนแรงขึ้น เป็นลักษณะ สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว (Extreme Weather Event) อันเป็นผลพวงจากอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น ฝนตกครั้งเดียว ก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมหนักได้มากกว่าในอดีต หรือปรากฏการณ์สภาพอากาศร้อนแล้ง ก็อาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น และรุนแรงมากขึ้น
อ่านเนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์ https://theactive.net/data/water-management-innovation/