ประวัตินักวิจัย
ชื่อ:
ตำแหน่ง:
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
สถานที่ทำงาน:
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทรศัพท์ที่ทำงาน:
02-579-2265
โทรศัพท์เคลื่อนที่:
086-788-9574
ตําแหน่งปัจจบุัน:
- หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท)
- President of Thai Geotechnical Society
- President of Southeast Asian Geotechnical Society
- Chairman of Disaster mitigation working group, ASEAN Federation of Engineering Organization
- ประธานและผู้ก่อตั้ง มูลนิธิมดชนะภัย
ที่อยู่:
513 หมู่ 9 ถนนสุขุมวิท 109 อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
Email:
soralump_s@yahoo.com , fengsus@ku.ac.th
การศึกษา
ปริญญาเอก : Ph.D. (Civil/Geotechnical Engineering), Utah State University, U.S.A พ.ศ.2545
ปริญญาโท : M.Eng. (Soil Engineering), สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พ.ศ.2539
ปริญญาตรี : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2537
การจดทะเบียนวิชาชีพ
- ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมของสภาวิศวกร ประเภทวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา หมายเลขทะเบียน เลขทะเบียน วย.1992 ปีที่ได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2558
- ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาธรณีวิทยา ประเภทงาน ธรณีวิทยาวิศวกรรม เลชทะเบียน 6450003033 ปีที่ได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2564
- ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาธรณีวิทยา ประเภทงาน ธรณีวิทยาพิบัติภัย เลชทะเบียน 6450002005 ปีที่ได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2564
- สมาชิกสภาวิศวกร เลขที่สมาชิก สามัญ 65266
- สมาชิกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หมายเลขสมาชิก 1/025868
- สมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) หมายเลขสมาชิก 631300101 631300101
- สมาชิกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย
สาขาที่เชี่ยวชาญ
- วิศวกรรมปฐพี (วิศวกรรมฐานราก, พฤติกรรมดินเหนียวอ่อน, เทคนิคการปรับปรุงฐานรากดินอ่อน)
- แผ่นดินไหว (ธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว, ความปลอดภัยเขื่อนต่อแรงแผ่นดินไหว)
- วิศวกรรมเขื่อน (ความปลอดภัยเขื่อน, การซ่อมแซมและฟื้นสภาพเขื่อน, การออกแบบและก่อสร้าง เขื่อน)
- ดินถล่ม (พฤติกรรมดินถล่ม, การป้องกันภัยและเตือนภัยเชิงวิศวกรรม, การเตือนภัยดินถล่ม)
- การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะทางธรณีภัย
รางวัลสำคัญ
พ.ศ. ที่ได้รับ | ชื่อรางวัล | หน่วยงานที่ให้ |
2563 | อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2563 สาขารับใช้สังคม | ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) |
2560 | AFEO Honorary Member Award (Outstanding ASEAN Engineer) | The ASEAN Federation of Engineering Organizations |
2559 | รางวัลศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธ์ (วิศวกรปฐพีดีเด่น) | มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธ์ ร่วมกับ คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรม ปฐพี วสท. |
2558 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเหรียญดุษฎี มาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2557 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดย สำนักนายกรัฐมนตรี |
2554 | ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2553 (ครุฑทองคำ) | คณะอนุกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น สำนักนายกรัฐมนตรี |
2553 | บุคลากรดีเด่นสายวิชาการ ด้านบริการวิชาการ (กลุ่มอายุต่ำ กว่า 40 ปี) | มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ |
ประสบการณ์โดยสรุป
มีประสบการณ์ 27 ปี ในงานสอน วิจัย และที่ปรึกษาด้านงานวิศวกรรมปฐพี-ธรณีเทคนิคในหลายด้าน ได้แก่
ด้านวิศวกรรมเขื่อน: อันได้แก่เขื่อนเก็บน้ำ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาฐานราก ปฐพีกลศาสตร์และฐานราก วิศวกรรมการออกแบบเขื่อน การทดสอบดินและหินทางวิศวกรรมสาหรับฐานรากและวัสดุถมเขื่อน การประเมินความเสี่ยงของเขื่อนและอาคารประกอบเป็นผู้พัฒนาระบบการตรวจสอบความปลอดภัยเขื่อนด้วยสายตา การตรวจสอบเขื่อนโดยวิธีดัชนีความเสี่ยง (Risk Index, RI) พัฒนาอุปกรณ์การตรวจวัดพฤติกรรมของเขื่อน รวมถึงฐานข้อมูล และระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อการตัดสินใจที่สาคัญได้ดำเนินโครงการซ่อมแซมหรือปรับปรุงเขื่อนหลายโครงการ ที่ได้ใช้ความรู้ทางธรณีวิทยา และธรณีวิศวกรรมมาร่วมกับองค์ความรู้ทางวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมปฐพีในการแก้ปัญหา รวมโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมเขื่อนทั้งสิ้น 32 โครงการ (โดยประมาณ) และ มีบทความทางวิชาการจำนวน 44 บทความ และได้เขียนตำรา “วิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน” จำนวน 1 เล่ม
ด้านเสถียรภาพของลาดดิน ตลิ่งแม่น้ำและกําแพงกันดิน: เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการตรวจสอบและแก้ไข ปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องกับการพิบัติของลาดดินและกาแพงกันดิน นอกจากนั้น ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างอาคารบนไหล่เขาและบนฐานรากที่เป็นหินซับซ้อน เป็นผู้ริเริ่มนำวิธีการทางธรณีฟิสิกส์หลายรูปแบบมาใช้ในการสำรวจฐานราก เพื่อประเมินผลร่วมกับผลการเจาะสำรวจ เช่นการประยุกต์ใช้ค่า Shear wave velocity ในการประเมินลักษณะชั้นดินเพื่อนำมาวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดชัน เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำแบบมาตรฐานเขื่อนป้องกันตลิ่งของกรมเจ้าท่า และได้นำองค์ความรู้ด้านการเคลื่อนย้ายตะกอนและกัดเซาะของลำน้ำมาใช้ในกำหนดรูปแบบการป้องกันการพิบัติของตลิ่ง นอกจากนั้นยังได้เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกฎหมายและมาตรฐานที่สำคัญหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของ เสถียรภาพของลาดดิน เช่น จัดทำร่างข้อบังคับและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน ของกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยเป็นผู้กำหนดบทบาทของนักธรณีวิทยาลงในข้อกฎหมายในกรณีที่ จำเป็นที่ต้องพิจารณาข้อมูลทางธรณีวิทยา ทั้งนี้งานศึกษาและออกแบบที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพของลาดดิน ตลิ่งแม่น้ำ และกำแพงกันดินมีจำนวนทั้งสิ้น 88 โครงการ (โดยประมาณ) และบทความวิจัยเผยแพร่จำนวน 99 บทความ มีตำราเรื่อง “การวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดชัน” จำนวน 1 เล่ม (ยังไม่ได้เผยแพร่)
ด้านวิศวกรรมดินเหนียวอ่อนและการปรับปรุงคุณภาพดิน ศึกษาและวิจัยพฤติกรรมดินเหนียวอ่อนในเชิงกลศาสตร์เพื่อใช้ในงานวิศวกรรม เป็นผู้ร่วมพัฒนาฐานข้อมูลดินเหนียวกรุงเทพฯ (Bangkok Clay) ที่ได้นำมาใช้ในการวางแผน และปรับปรุงงานโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก เป็นผู้ประยุกต์ระบบ Vacuum Consolidation มาใช้ในการปรับปรุงดินเหนียวอ่อนสำหรับธุรกิจบ้านจัดสรร เพื่อลดปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินในโครงการ ทำให้ลดการฟ้องร้องต่อกัน และเป็นผู้เขียนมาตรฐานเรื่องงานถมดินสาหรับโครงการบ้านจัดสรรอีกด้วย งานศึกษาและออกแบบที่เกี่ยวข้องมีจำนวน 6 โครงการ (โดยประมาณ) บทความทางวิชาการจำนวน 16 บทความ
การจัดการดินถล่ม: เป็นผู้เริ่มนำความรู้ทั้งด้านธรณีวิทยาและวิศวกรรมปฐพีมาประยุกต์เพื่อนำมาใช้ในการ จัดการดินถล่ม เช่นการจัดทำแผนที่โอกาสเกิดดินถล่ม พัฒนาวิธีการและเครื่องมือในการสำรวจและเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ดินถล่ม การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดพฤติกรรมของลาดดิน เป็นผู้จัดทำแผนที่ระดับความอ่อนไหวของกลุ่มดินต่อดินถล่มของประเทศไทย แผนที่กำลังรับแรงเฉือนของดินที่ผุพังจากหินกลุ่มต่างๆของประเทศไทย คิดค้นแบบจำลองเพื่อประเมิน และเตือนภัยดินถล่มล่วงหน้า ได้แก่ AP Model และ DynaSlide Model และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่นกรมทรัพยากรธรณี จัดทำระบบเตือนภัยฐานชุมชน (Community base landslide warning system) มีงานศึกษาและวิจัยด้านดินถล่ม ทั่วประเทศเช่น ดอยตุง ดอยแม่สลอง ดอยช้าง จ.เชียงราย อ.บ่อเกลือ จ.น่าน จ.เชียงใหม่ จ.อุตรดิตถ์ อ.นบพิตา จ.นครศรีธรรมราช จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ ฯลฯ ท้ายสุด เป็นผู้ยกร่างมาตรฐานและปรับปรุงข้อบังคับในกฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายขุดดินถมดิน ที่จะดำเนินการในพื้นที่ดินถล่ม รวมโครงการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดินถล่มจำนวน 21 โครงการ (โดยประมาณ) มีบทความทางวิชาการจำนวน 70 บทความ และได้เขียนตำรา “วิศวกรรมดินถล่ม” จำนวน 1 เล่ม
ด้านแผ่นดินไหว: เป็นผู้นำวิธีการวิเคราะห์การตอบสนองของดินต่อแรงกระทำแผ่นดินไหว (Dynamic response analysis) มาใช้ในงานสอนและงานวิจัย โดยใช้ในการวิจัยการตอบสนองของชั้นดินกรุงเทพฯต่อแรงกระทำ แผ่นดินไหวระยะไกล รวมถึงได้นามาใช้เพื่อประเมินความปลอดภัยของเขื่อนขนาดใหญ่ต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวจำนวนหลายเขื่อน เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนสิริกิติ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ฯลฯ เป็นผู้พัฒนาวิธีการประเมินผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมของเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว งานวิจัยด้านการเกิดดินถล่มจากแรงกระทำแผ่นดินไหวพัฒนาและประยุกต์ใช้ Attenuation model แบบต่างๆเพื่อการวิเคราะห์ Seismic hazard analysis มีงานศึกษาและวิจัยด้านพฤติกรรมของดินต่อแรงแผ่นดินไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินบดอัดและได้ศึกษาและวิจัยปรากฏการณ์ทรายเหลว (Liquefaction) ตั้งแต่ที่เกิดปรากฏการณ์ครั้งแรกที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในปี พ.ศ. 2554 และได้จัดทำแผนที่พื้นที่โอกาสเกิดทรายเหลวใน จ.เชียงราย งานด้านสังคม ได้ทำการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน และการช่วยเหลือประชาชนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย มีประสบการณ์ในการสำรวจและเข้าช่วยเหลือทางวิชาการในเหตุการณ์ แผ่นดินไหวในหลายประเทศ เช่น เนปาล เมียนมาร์ อินโดนิเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น สุดท้ายเป็นหัวหน้าโครงการในการปรับปรุง แผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม และแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจาก แผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธรรณะภัย โดยสรุป ได้ร่วมในโครงการศึกษาและวิจัยที่ เกี่ยวข้องจำนวน 14 โครงการ และมีบทความวิจัยในด้านนี้จำนวน 13 บทความ และได้เขียนตำรา Soil Dynamics, สารคดีภาพ “ธรณีภัย” (ไทยและอังกฤษ) รวมจำนวน 3 เล่ม
งานช่วยเหลือสังคมในฐานะกรรมการและคณะทํางานในวิชาชีพ (จากการแต่งตั้งหรือคัดเลือก)
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.):
- ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา (2556-ปัจจุบัน)
- อุปนายก วสท., (2557-2560)
- ประธานคณะกรรมการต่างประเทศ (2557-2560), (ที่ปรึกษา, 2563-2565)
- คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย (2557-2560)
- คณะอนุกรรมการสาขาผลกระทบจากแผ่น ดินไหวและแรงลม (2557-2560)
- คณะทางานเพื่อศึกษาพัฒนาการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมเนื่องจากธรณีพิบัติในภูมิภาคอาเซียน (2555-2560)
- กรรมการในคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี (2547-ปัจจุบัน)
- อนุกรรมการร่างมาตรฐานเข็มตอก (2547-2558)
- อนุกรรมการและเลขานุการร่างมาตรฐานอ่างเก็บน้ำและเขื่อนขนาดเล็ก (2547-2548)
- อนุกรรมการและเลขานุการ ตรวจสอบผนังกั้นน้ำโคกสลุง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (2547)
สภาวิศวกร:
- คณะอนุกรรมการถ่ายโอนเทคโนโลยีและนวัตกรรม (2564-ปัจจุบัน)
- กรรมการมูลนิธินายช่างไทยใจอาสา (2561-ปัจจุบัน)
- คณะอนุกรรมการไต่สวน ภายใต้คณะกรรมการจรรยาบรรณ (2559-2560)
- กรรมการและคณะทางานปฏิบัติงานศึกษาข้อมูลและประเมินสถานการณ์อุทกภัยประเทศไทย พ.ศ.2554 (2554-2556)
- คณะทางานจัดทำแนวทางการสอบเลื่อนระดับใบอนุญาตเป็นสามัญวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา (2556-ปัจจุบัน)
- คณะอนุกรรมการประสานงานด้านภัยพิบัติและความปลอดภัยสาธารณะ (2558-ปัจจุบัน)
- ผู้ชานาญการพิเศษ เพื่อทดสอบความรู้ความชานาญการประกอบวิชาชีพ ระดับสามัญวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ตามประกาศสภาวิศวกร ที่ 42/2553 วันที่ 27 ธันวาคม 2553 (2553-ปัจจุบัน)
- กรรมการและคณะทางานปฏิบัติงานศึกษาข้อมูลและประเมินสถานการณ์อุทกภัยประเทศไทย พ.ศ.2554
สมาคมวิชาชีพต่างประเทศ
- President, Southeast Asian Geotechnical Society (SEAGS) (2019-2012)
- AFEO Conference Committee of EIT (ASEAN Federation of Engineering Organization conference Committee of EIT (2020)
- President, Thai Geotechnical Society, International Society of Soil Mechanics and Geotechnical Engineering (2013-Present)
- Vice President , International Geosynthetics Society (IGS) – Thailand Chapter (2004-Present)
- Asian Technical Committee 3 (ATC 3) on Geotechnology for Natural Hazards, International Society in Soil Mechanics and Geotechnical Engineering, Committee (2000-Present)
- Chairman: Disaster Mitigation Working Group, Asean Federation of Engineering Organization (AFEO), (2557-ปัจจุบัน)
สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย: คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาวิชาชีพธรณีวิทยา (2560 – ปัจจุบัน)
กรมชลประทาน: กรรมการ ในคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการแก่กรมชลประทาน (งานก่อสร้างตามแผน แก้ไขผลกระทบด้านชลศาสตร์ (การปรับปรุงระบบโทรมาตร) โครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง (2549-2550)
กรมทรัพยากรธรณี:
- คณะที่ปรึกษาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมทรัพยากรธรณี คำสั่งที่ 329/2559 (2559-2564)
- คณะทางานปรับปรุงข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยา และแผนที่ธรณีพิบัติภัยของประเทศ คำสั่งที่ 540/2561 (2561-ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการจัดทำแนวทางการรักษาเสถียรภาพเขาตาปู อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา คำสั่งที่ 209/2564 ลว. 9 มิถุนายน 2564
กรมโยธาธิการและผังเมือง:
- กรรมการในคณะกรรมการขุดดินและถมดิน
- คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 924/2565 (เม.ย. 65-เม.ย. 68)
- คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 567/2562 (มี.ค. 62-มี.ค. 65)
- คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 114/2559 (มี.ค. 59-มี.ค. 62)
- อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจัดทำร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 8 (2) และ (3) กำหนด ลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารด้านวิศวกรรมโยธา (2549-2551)
- อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 (2553-2554)
- คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงด้านเทคนิค (คณะอนุกรรมการแก้ไขและปรับปรุง กฎกระทรวงว่าด้วยการกาหนดการรับน้ำหนักความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ ตามมาตรา 8 (2) และ (3))
- คณะอนุกรรมการแก้ไขและปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยการกาหนดการรับน้ำหนักความต้านทาน และ ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามมาตรา 8 (3)
- คณะอนุกรรมการแก้ไขและปรับปรุงกระทรวงว่าด้วยการรับน้ำหนักความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 (2554- ปัจจุบัน )
- กรรมการในคณะกรรมการขุดดินและถมดิน คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 114/2559 (2556-2561, 2 วาระ)
- อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 (2553-2554)
- อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจัดทำร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 8 (2) และ (3) กำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารด้านวิศวกรรมโยธา
กรมทางหลวงชนบท: ที่ปรึกษาและความเห็นทางวิชาการ โครงการ ศึกษาและพัฒนาระบบแจ้งเตือนการวิบัติของดินคันทางถนน (2560)
คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ): คณะอนุกรรมการการจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ) ที่ 01/2556 สั่ง ณ วันที่ 12 กันยายน 2556 (ทำงานในตำแหน่งผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) (2556)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรรมการและคณะทางานออกแบบระบบป้องกันอุทกภัยและการระบายน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2554)
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน):
- คณะทางานพัฒนาและกลั่นกรองโครงการบ้านมั่นคง (ตามคำสั่งที่ 125/2561) (พ.ย. 2561-ต.ค. 2562)
- คณะทางานโครงการบ้านมั่นคงไทยเข้มแข็งภาค ภาคกลางตอนบนและตะวันตก (ตามคำสั่งที่ ง. 76/2553) (2553-2555)
สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ:
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติและกรรมการสาขาวิชาการ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย (2555-2558)
- ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอาคารสำนักงานฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่เกิดการทรุดตัวหลังน้ำลด พ.ศ. 2554
สํานักนายกรัฐมนตรี: กรรมการและคณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์ ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัย (2554)
กรุงเทพมหานคร สํานักการระบายน้ำ: ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาคลอง บางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์เพื่อช่วยหามาตรการป้องกันการรั่วซึมและวิเคราะห์จุดเสี่ยงของตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2554
การประปานครหลวง: ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนวคิดในการสร้างคันดินป้องกันน้ำท่วมโรงกรองน้ำบางเขน พ.ศ. 2554
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.): ผู้เชี่ยวชาญประเมินสภาพความมั่นคงของคันดิน นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี่ และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ตามคำเชิญของกลุ่มบริษัทประกันภัยฯ (2554)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) คำสั่งสานักนายกรัฐมนตรี 51/2565
ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิมดชนะภัย (Chairman and Founder of Mod Chana Phai Foundation)
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2557 เพื่อนำสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และองค์ความรู้จากการวิจัยด้านภัยพิบัติกลับไปช่วยชุมชน
- การบริจาคบ้านน๊อคดาวน์ขนาด 21 ตรารางเมตร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ชาวเนปาล เพื่อเป็นต้นแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว
- การก่อสร้างบ้านป้องกันแผ่นดนิ ไหวเพื่อผู้ด้อยโอกาส จ. เชียงราย จนถึงปัจจุบันได้มอบบ้านไปแล้ว 14 หลัง “ให้อย่างมีคุณค่า รับออย่างมีศักดิ์ศรี”
- โครงการ “คนสอนงานงานสอนคน” อาคารเอนกประสงค์วัดดงมะเฟืองเพื่อเป็นที่ฝึกงานด้านการสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว้ให้กับช่างท้องถิ่น
- โครงการผ้าป่าสามัคคีเพื่อซ่อมแซมเจดีย์คุ้มเวียงสรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
- วิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหวอาคารศูนย์อพยพร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยา
สถาบันการศึกษา
1) ประธานคณะทางานผู้จัดทำร่างมาตรฐาน คณะที่ 7 มาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตกำลังสูงอัดแรงแบบแรง เหวี่ยง ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ 1118/2564 (6 ก.ค. 64-ปัจจุบัน)
อื่นๆ:
- คณะทางานศึกษา รวบรวม และจัดทำคู่มือการใช้เทคนิคดินซีเมนต์ในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กโดย ชุมชนแต่งตั้งโดย คณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ วุมิสภา (1 ก.พ. 64๗
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะริมตลิ่ง การตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร (3 พ.ย. 64-ปัจจุบัน)
- ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสมาชิกเครือข่ายพัฒนาความเข็มแข็งต่อภัยพิบัติไทย โดยมูลนิธิเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย (2563-ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษาการควบคุมงานก่อสร้างเมรุพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อคูณ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น (2562)
- คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและการมีส่วนร่วม (คำสั่งที่ 1/2562) ในคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการถ้ำแห่งชาติ แต่งตั้งโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อ พฤษภาคม 2562
- วิศวกรอาสา: ประเมินและออกแบบแนวกระสอบทรายกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ของโรงพยาบาลศิริราช (2554)
งานช่วยเหลือสังคมในงานด้านอื่นๆ / วิศวกรอาสา
1) ลงพื้นที่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าผู้ประสานงานทีมขุดเจาะถ้ำหลวง ในปี พ.ศ. 2561
2) การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มในแต่ละครั้งในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้สำรวจและเข้าช่วยเหลือตามโอกาสในพื้นที่ ดังนี้
2546 ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
2547 ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ / อ.แม่ระมาด จ.ตาก / ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน / ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง / ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่
2548 ต.เกาะระ อ.คุระบุรี จ.พังงา / ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง / ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ / ต.หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต / ต.รมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา / ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล / ต.บากุ้ง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
2549 ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ / ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ / ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ / อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
2550 ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
2552 ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
2553 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย / โครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย/ต.ฉวาง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
2554 ต.ขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช / ต.เขาน้อย อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช / ต.หน้าเขา อ.เขาพนม จ.กระบี่ / ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช / ต.คลองสระ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี / ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์
2555 ต.หน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
2556 ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด
2557 ต.ทุ่งช้าง อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
2559 เกาะช้าง จ.ตราด
2558 ต.ปิล็อค อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี / บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
2560 อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี / อ.เขาพนม จ.กระบี่/ ต.กรุงชิง อ.นบพิตา จ.นครศรีธรรมราช
2561 บ้านห้วยขาบ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
3) การลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และเข้าช่วยเหลือตามโอกาส
2561 kumamoto earthquake ร่วมกับ Kyoto University
2556 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8
2557 จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3
2558 ประเทศเนปาล เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ได้เข้าไปร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ทำการสำรวจและให้ ข้อแนะนำในเรื่องการซ่อมแซมและปลูกสร้างอาคารชั่วคราว รวมทั้งเขื่อนเก็บน้ำ ซึ่งในการไปประเทศเนปาลนี้ ได้มีความร่วมมือกับ Kathmandu University ส่งนักเรียนมาเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมปฐพี ซึ่งสนับสนุนทุนการศึกษาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และช่วยเหลือทุนทำงานโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก จำนวน 2 คน คือ Mr.Avishek Sherestha และ Mr.Kobid Panthi
2561 เมืองปาลู ประเทศอินโดนีเซีย สำรวจผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาด และสึนามิร่วมกับ Thai Geotechnical Society (TGS) and Indonesian Geotechnical society HATTI
4) การลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้คำแนะนำและร่วมปรึกษาหาวิธีการแก้ไข กรณีเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเขื่อน โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อมั่นและวางใจจากกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยการศึกษาและตรวจเขื่อนต่าง มีรายการดังนี้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- เขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี
- เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
- เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
- เขื่อนแม่จาง จ.ลำปาง
- เขื่อนในเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
- เขื่อนบางลาง จ.ยะลา
- เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี
- เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
- เขื่อนรัชประภา จ.สุราษฎร์ธานี
- เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
- เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จ.ตาก
- เขื่อนของโรงไฟฟ้าลำตะคอง จ.นครราชสีมา
- เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์
- เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
- เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร
- เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
- เขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ
กรมชลประทาน
- เขื่อนแควน้อยบารุงแดน จ.พิษณุโลก
- เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธ์ุ
- เขื่อนแม่สรวย จ.เชียงราย
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
- เขื่อนคลองมะเดื่อ จ.นครนายก
- เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
- เขื่อนคลองป่าบอน จ.พัทลุง
- เขื่อนลำน้ำอูน จ.สกลนคร
- เขื่อนแซร์ออ จ.สระแก้ว
- เขื่อนห้วยตาเปอะ จ.มุกดาหาร
- เขื่อนแม่ลาย จ.เชียงใหม่
- เขื่อนน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์
- เขื่อนน้ำกิ จ.น่าน
- เขื่อนน้ำกอน จ.น่าน
- เขื่อนแม่แคม จ.แพร่
- เขื่อนห้วยน้ำนึง จ.ลำปาง
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
- โครงการไฟฟ้าพลังน้ำแม่มาว จ.เชียงใหม่
- เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแม่กะไน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
- เขื่อนแม่เสรียง จ.แม่ฮ่องสอน
กรมทรัพยํากรนํา
- เขื่อนวังส้มป๋อย จ.ราชบุรี
- เขื่อนหุบตาโหจ.ประจวบคีรีขันธ์
- เขื่อนวังกระดาษ จ.ประจวบคีรีขันธ์
- เขื่อนมรสวบ จ.ประจวบคีรีขันธ์
ผู้เชี่ยวชาญในการก่อสร้างเขื่อน
- เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก
- Nam Ngum 2 dam, Lao PDR.
- Xayaburi Hydroelectric Power, Lao PDR.
ผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมแซมเขื่อน
- โครงการไฟฟ้าพลังน้ำแม่มาว จ.เชียงใหม่
- เขื่อนแม่สรวย จ.เชียงราย
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
- เขื่อนมรสวบ จ.ประจวบคีรีขันธ์
- เขื่อนหุบตาโห จ.ประจวบคีรีขันธ์
- เขื่อนวังกระดาษ จ.ประจวบคีรีขันธ์
- เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์
- เขื่อนคลองป่าบอน จ.พัทลุง
5) การลงพื้นที่สำรวจบ้านและถนนริมคลองทรุดตัว และให้คำแนะนำและเทคนิคในการปรับปรุงและซ่อมแซม โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน
6) การลงพื้นที่สำรวจน้ำท่วมและออกแบบการป้องกันการพังของริมคลอง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนถึง ปัจจุบัน
7) การประสานงานให้ความรู้ระหว่างผู้ดูแลเขื่อนและชาวบ้านเพื่อลดข้อขัดแย้งเรื่องเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน
8) งานที่ใช้วิชาชีพเพื่อศาสนา การควบคุมการก่อสร้างเจดีย์วัดเขาสุกิม, ปรึกษาการควบคุมงานก่อสร้างเมรุ พระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อคูณ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น, ยกเจดีย์แม่สรวย
9) การพัฒนานวัตกรรม จากความรู้หรือผลงานวิจัยเพื่อใช้ในสังคมจริง เช่น
- ระบบเตือนภัยดินถล่มสําหรับประเทศไทย (AP Model) ที่กรมทรัพยากรธรณีใช้ในการเตือนภัยดินถล่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงในปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนาแบบจำลองดังกล่าวโดยมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นประจำดำเนินการโดยกรมทรัพยากรธรณี
- ระบบเตือนภัยดินถล่มฐานชุมชนระบบต้นแบบของประเทศไทยที่เขาพนมเบญจาจังหวัดกระบี่และดอยตุง จังหวัดเชียงราย
- ความปลอดภัยเขื่อน เป็นผู้พัฒนาระบบการตรวจสอบสภาพเขื่อนเพื่อประเมินความปลอดภัยด้วยวิธี ดัชนีความเสี่ยง Risk Index (RI) ปัจจุบันใช้ตรวจสภาพเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน
- พัฒนาบล็อกประสานป้องกันดินถล่ม เป็นกำแพงป้องกันดินพังทลายที่ชุมชนสามารถผลิตและก่อสร้างได้เอง โดยใช้ต้นทุนต่ำ โดยร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน โดย ดำเนินการในพื้นที่ ก) บ้านมั่นคง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง ช) บ้านมั่นคงสหกรณ์เคหสถานบ่อทองเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี ค) บ้านหวายช่อ ม.11 ต.กรุงชิง อ.นบพิตา จ.นครศรีธรรมราช (อยู่ระหว่างการยื่นขอจด อนุสิทธิบัตร)
- พัฒนาสมอดินเพื่อใช้ร่วมกับกำแพงกันดินสำหรับริมคลอง โดยทั่วไปการก่อสร้างกำแพงกันดินต้องมีการ ขุดดินหรือถมดิม จนเกิดความต่างระดับของผิวดินมากกว่าความสูงที่มวลดินจะสมดุลย์อยู่ได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างกันดินช่วยป้องกันการทะลายหรือการเคลื่อนตัวของมวลดิน โดยวิจัยร่วมกับบริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จากัด (มหาชน) (อยู่ระหว่างการยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร)
- งานก่อสร้างเข็มสลับฟันปลาเพื่อป้องกันการพิบัติชองถนนริมคลอง เป็นงานวิจัยโดยใช้แบบจำลองโดย อาศัยเครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge Machine) ในห้องทดลองที่มหาวิทยาลัยในฮ่องกง (HongKong University of Science and Technology, HKUST) เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการป้องกันเสถียรภาพของตลิ่งในพื้นที่ที่ไม่สามารถสร้างแนวโครงสร้างป้องกันตลิ่งพังเนื่องจากงบประมาณจำกัด
- การออกแบบสันเขื่อนเป็นลักษณะสันเขื่อนเสริมแรงเพื่อต้านแผ่นดินไหวเป็นแห่งแรก ณ เขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะสามารถใช้ในศึกษาพฤติกรรมของเขื่อนที่มีการปรับปรุงสันเขื่อนเพื่อเพิ่มระดับการกักเก็บน้ำ และป้องกันแผ่นดินไหว เป็นต้น
- การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีเทคนิคในการดำเนินการหลายเทคนิค วิธี VCM ก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและราคาต่ำ ทำให้ประหยัดงบประมาณประเทศชาติในงานโครงสร้าง พื้นฐานและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานงานทางวิศวกรรมของประเทศ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
การตรวจสอบเขื่อน
ระยะเวลา | ตำแหน่ง | หน่วยงาน |
กรกฎาคม 2557 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างฝายดักตะกอนเหนือ เขื่อนแม่เสรียง จ.แม่ฮ่องสอน | พพ. |
22-23 ธันวาคม 2554 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเหมืองแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง | กฟผ. |
13-14 กรกฎาคม 2553 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแม่กะไน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน | พพ. |
24-26 พฤษภาคม 2553 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนบางลาง จ.ยะลา | กฟผ. |
26-28 มกราคม 2553 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนภูมิพล และเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จ.ตาก | กฟผ. |
24-26 พฤศจิกายน 2552 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนโรงไฟฟ้า ลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา | กฟผ. |
22-24 กันยายน 2552 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนในเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง | กฟผ. |
21-23 กรกฎาคม 2552 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อน รัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี | กฟผ. |
27-29 พฤษภาคม 2552 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนวชิราลงกรณ (กรณีพิเศษ) | กฟผ. |
19-21 พฤษภาคม 2552 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อน สิรินธร และเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี | กฟผ. |
23-25 กันยายน 2551 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อน สิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ | กฟผ. |
29-31 กรกฎาคม 2551 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อน วชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี | กฟผ. |
26-27 มีนาคม 2551 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อน อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น | กฟผ. |
23-24 พฤศจิกายน 2549 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อน โครงการไฟฟ้า พลังน้ำแม่มาว อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ | กฟผ. |
30 ตุลาคม 2549 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนสิริกิติ์เป็นกรณีพิเศษ | กฟผ. |
16-17 ตุลาคม 2549 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเขื่อนภูมิพลเป็นกรณีพิเศษ | กฟผ. |
อื่นๆ
ระยะเวลา | ตำแหน่ง | หน่วยงาน |
14 ตุลาคม 2553 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบความเสียหายของฐานรากอาคาร โครงการบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ณ จ.พระนครศรีอยุธยา | พอช. |
18 ตุลาคม 2553 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบดินถล่มในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง จ. เชียงราย | โครงการพัฒนาดอยตุง |
2552 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบภาคสนาม การศึกษาเพื่อจัดการภัยดินถล่มในลุ่มน้ำแม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ | กรมทรัพยากรธรณี |
การพิจารณาบทความ
ระยะเวลา | ตำแหน่ง | หน่วยงาน |
ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความ วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน | สถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวร | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความ ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและ ทรัพย์สินทางปัญญา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความ คณะวิศวกรรมศาสตร์ | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบคุณภาพของบทความ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความ | Geotechnical Engineering Journal (SEAGS) | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบรายงานวิจัย (วพ) | สำนักวิจัยและพัฒนางานทางกรมทางหลวง | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความวิศวกรรมสาร “ฉบับวิจัยและ พัฒนา” | วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
การพิจารณาหลักสูตร
ระยะเวลา | ตำแหน่ง | หน่วยงาน |
2558 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินหลักสูตร | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย |
2558 | คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรวศิวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตร ปรับปรุงปี พ.ศ. 2559) | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
2554 | คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบหลักสูตรวิศวกรรม ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวชิาวิศวกรรมโยธา | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพีระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปรับปรุงปี พ.ศ.2554) |
2554 | คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย ภาคพิเศษ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2553 | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาหลักสูตรวิศวกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยพระจอมเกล้าธนบุรี |
มกราคม 2547 | ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาหลักสูตรปรับปรุงหลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาธรณีวิทยา | คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
งานสอน
ระยะเวลา | ตำแหน่ง | หน่วยงาน |
2563, 2564 | ร่วมสอนรายวิชาการ หลักการวิศวกรรมและเทคโนโลยีการ ป้องกันประเทศ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
งานที่ปรึกษาในวิชาชีพและงานบริการวิชาการ
1. งานศึกษาและออกแบบด้านวิศวกรรมปฐพี
ตำแหน่ง | ตําแหน่ง/ความรับผิดชอบ |
2563 – ปัจจุบัน | – หัวหน้าโครงการ“งานจ้างตรวจสอบวิเคราะห์และออกแบบซ่อมแซมพื้นที่ลาดเขาบริเวณ อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย” ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย, 2564 – หัวหน้าโครงการ “โครงการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน (Slope Stability) และออกแบบ ป้องกันการเคลื่อนตัวของลาดดิน(SlopeFailure)จากการขุดบ่อทรายบรเิวณแนวท่อก๊าซฯ RC0460” ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), 2564 – หัวหน้าโครงการ “การศึกษาความสามารถกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเกลียว (screw pile) สาหรับดินเหนียวกรุงเทพฯ” ของ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (2562-2564) – Development “Establishment of the method of utilizing the SDS test and the development of a new test machine in the Kingdom of Thailand” for JAPAN HOME SHIELD CORPORATION and NITTO SEIKO CO., LTD., (March 2020 – December 2021) |
2562-2563 | – หัวหน้าโครงการ“การวิเคราะห์การเคลื่อนตัวและการทรุดตัวของระบบการก่อสร้างฐานรากของ อาคารสุขุมวิท 38” ของ บริษัท ฤทธา จำกัด – หัวหน้าโครงการ “โครงการจัดทาร่างข้อบังคับและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม (Landslide) และ บริเวณลาดเชิงเขา”, กรมโยธาธิการและผังเมือง (พ.ศ. 2559-2562) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี “ศึกษาเพื่อวางแผนแม่บทและออกแบบรายละเอียด (ในจุดวิกฤติ) เพื่อแก้ไขปัญหาตลิ่งพังในแม่น้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ของ บริษัท เมกก้าเทค คอนซัล แตนท์ จำกัด, 2562 – Geotechnical Engineering “GHECO-One Coal Fired Power Plant Project” ของ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), 2562 – Project Manager and Engineering landslide expert “Geotechnical engineering assessment for landslide hazards of the Zawtika onshore pipeline (Myanmar)” ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), 2562 – หัวหน้าโครงการ“โครงการงานศึกษาด้านวิศวกรรมและออกแบบโครงการปรับปรุงสระสำรองน้ำดิบฉะเชิงเทรา” ของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (2562-2562) |
2560 – 2561 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “ออกแบบแก้ปัญหาดิน ถล่มในบริเวณแนวท่อก๊าซฯ บริษัท Trans Thai-Malaysia (TTM)” ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), 2561 – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “จ้างเหมาบริการจัดทำข้อเสนอแนะใน การป้องกันน้ำใต้ดินและน้ำท่วมขังของแหล่งขึ้นทะเบียนซากฯ บริเวณไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1 และไม้กลายเป็นหิน ที่พบใหม่ในสระน้ำ” ของกรมทรัพยากรธรณี, รับผิดชอบงาน วางแผน การศึกษาและวิเคราะห์ผล (ส.ค.61-ม.ค.62) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านอุโมงค์และวิศวกรรมปฐพี“งานออกแบบและจัดทำเอกสาร ประกวดราคางานก่อสร้างระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing สถานีต้นทางเอราวัณ บางพลี ลาดพร้าว และบางซื่อ” ของ การไฟฟ้านครหลวง (ธ.ค.60-ธ.ค.62) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“การศึกษาด้านวิศวกรรมและออกแบบ โครงการปรับปรุงสระเก็บน้ำ สำนักบก ต.สำนักบก อ.เมือง จ.ชลบุรี” ของ บริษัท จัดการและ พัฒนาทรัพยากรนา้ ภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (ต.ค.60-พ.ย.61) – หัวหน้าโครงการ “โครงการพัฒนาสมอดิน เพื่อใช้ร่วมกับกำแพงกันดิน” ของ บริษัท สยามสตลี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน (ม.ค.61-พ.ค.61) – ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญโครงการ “โครงการศึกษาและสำรวจเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งน้ำพุร้อนและแหล่งน้ำแร่บริเวณผิวดิน (Phase I) พื้นที่ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัด เชียงราย” ของ คุณเกรียงไกร จารุทวี (ร่วมงานกับ บจก.ศิลา, 2560) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “ออกแบบงานถมดินเพื่อก่อสร้าง MOC EIO” ของ บริษัท มาบตาพุต โอเลฟินส์ จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2560) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “สำรวจชั้นดินและผลการวิเคราะห์โครงการ DINSO RESORT PATONG ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต” ของ DINSO RESORT PATONG (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2560) – ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ “โครงการสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยง Myanmar Brewery Project” ของ บริษัท บุญรอด บรวิ เวอรี่ จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2560) – ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ “โครงการก่อสร้างฐานเครื่องจักร บ. บุญรอดเอชียเบเวอเรช จำกัด อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี” ของ บริษัท บุญรอดบุญรอดเอชียเบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2560) – ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ “โครงการศึกษาแนวทางการบริการจัดการน้ำผิวดินที่ส่งผลกระทบน้อย และโครงข่ายเชิงนิเวศน์เพื่อการออกแบบภูมิทัศน์ : ปทุมธานีโมเดล” ของ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)(ร่วมกับ บจก.ศิลา,2560) – หัวหน้าที่ปรึกษา“โครงการที่ปรึกษาและควบคุมงานปรับปรุงคณุภาพดินด้วยการใช้แถบระบายน้ำแนวดิ่งกับการกดทับล่วงหน้าระบบสุญญากาศ (Vacuum) โครงการ บุราสิริ – วชั รพล” ของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2560) |
2558 – 2559 | – ผู้จัดการโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านป้องกันดินถล่ม “โครงการจัดทำร่างข้อบังคับและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินใน พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม (Landslide) และบริเวณลาดเชิงเขา” ของ กรมโยธาธิการและผังเมือง (มี.ค. 59-ธ.ค. 62) – หัวหน้าโครงการ “โครงการศึกษาและสารวจออกแบบเพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำชี และแม่น้ำเลย” ของ กรมเจ้าท่า (ก.ค. 58-พ.ย. 58) – หัวหน้าโครงการ “โครงการสารวจเพื่อหาสาเหตุและออกแบบแก้ไขการพิบัติของอาคารเรียน โรงเรียนวัดสลักเหนือ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี” ของ อบจ.นนทบุรี (ก.ย. 58-ธ.ค. 58) – ที่ปรึกษาโครงการ “สำรวจตรวจสอบรอยร้าวอาคาร บริษัท สิงห์เบเวอเรช จำกัด จ.นครปฐม” ของ บริษัท สิงห์เบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – ที่ปรึกษาโครงการ “โครงการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง บริษัท วังน้อย เบเวอเรช จำกัด” ของ บริษัท วังน้อย เบเวอเรช จำกัด (ร่วมมกับ บจก.ศิลา, 2559) – หัวหน้าโครงการ“โครงการออกแบบข้อมูลทางวิศวกรรมเทคนิคธรณีของการขุดเปิดบ่อเพื่อขออนุญาตกับกรมทางหลวง งานวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาด 18 นิ้ว ตามแนวถนนทางหลวง หมายเลข 1 (พหลโยธิน) และ ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ช่วงสถานีควบคุมก๊าซฯที่ 20 ถึง สถานีควบคุมก๊าซฯที่ 25” ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – หัวหน้าโครงการ “โครงการขยายอายุการใช้งานระบบท่อส่งก๊าซบนบก เส้นที่ 1 บนทางหลวง หมายเลข 1 (พหลโยธิน) และทางหลวงมายเลข 2 (มิตรภาพ)” ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “งานสำรวจวิเคราะห์ และออกแบบกำแพงป้องกันน้ำส่วนต่อขยาย ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะส่วนที่3นิคมอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ของ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา(ร่วมกับบจก.ศิลา, 2559) – ที่ปรึกษาโครงการ “การออกกำแบบกำแพงป้องกันน้ำโครงการเศรษฐศิริ บางนา” ของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – ที่ปรึกษาโครงการ “Consolidation Settlement sansiri watcharapol 2” ของ บริษัท แสน สิริ จำกัด (มหาชน) (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “โครงการสารวจและออกแบบการป้องกันลาดชัน” ของ บริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “โครงการ VANGLOV KOH SAMUI VILLA อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎ์ ธานี” ของ VANGLOV KOH SAMUI (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “ออกแบบก่อสร้างกาแพงป้องกันดนิ บริเวณภูเก็ตแฟนตาซี อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต” ของ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสอบ จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2559) – ที่ปรึกษาโครงการ “สำรวจและออกแบบรายละเอียด โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำภาชี จ.ราชบุรี” ของ กรมทรัพยากรน้ำ (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2558) |
2556 – 2557 | – ที่ปรึกษาโครงการ“โครงการศึกษาออกแบบงานก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินลอดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีต้นทางพระนครใต้ บริเวณสะพานกรุงเทพ และบริเวณสะพานพระราม 9” ของ ไฟฟ้านครหลวง (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – ผู้เชี่ยวชาญ“ออกแบบรูปแบบการก่อสร้างเบื้องต้นเพื่อใช้ในการประมาณราคางานก่อสร้างทางเท้าในสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ ‘ศรีนครเขื่อนขันธ์’” ของ บริษัท ภูมิสถาปนิกกรุงเทพ จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ “การปรับปรุงโรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.ภูเก็ต” ของ โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.ภเูก็ต (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – ที่ปรึกษาโครงการ “ออกแบบกำแพงป้องกันน้ำท่วม โรงงานผลิต เบียร์ อ.บางเลน จ.นครปฐม” ของ บริษัท สิงห์เบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – ที่ปรึกษาโครงการ “ออกแบบกำแพงป้องกันน้ำท่วมโรงงาน จ.เชียงใหม่” ของ บริษัท เชียงใหม่เบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – ที่ปรึกษาโครงการ “ออกแบบกำแพงป้องกันน้ำท่วมโรงงาน จ.สุราษฎร์ธานี” ของ บริษัท สุราษฎร์ธานีเบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – ที่ปรึกษาโครงการ “ออกแบบกำแพงป้องกันน้ำท่วมโรงงาน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา” ของ บริษัท วังน้อย เบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญโครงการ“โครงการก่อสร้างระบบป้องกันการพังทลายของลาดชันบ้านพักอาศัย ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่งจังหวัด จ.พังงา” ของ คุณรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการ“โครงการประเมินความเสี่ยงของภัยธรรมชาติต่อพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างในเครือบริษัทบุญรอด (Disaster Audit)” ของ บริษัท บญุรอด บริวเวอรี่ จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2557) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำในคลองประปาฝั่งตะวันตกและเสริมเสถียรภาพคันคลองพร้อมระบบป้องกันอุทกภัยคลองประปาฝั่งตะวันออก” ของ การประปานครหลวง (ก.ค. 56-ธ.ค. 57) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการการศึกษาออกแบบงานก่อสร้างท่อร้อยสายใต้ดินลอด แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสถานีต้นทางพระนครใต้, บริเวณสะพานกรุงเทพ และบริเวณสะพาน พระราม 9” ของ การไฟฟ้านครหลวง (มี.ค. 56-มี.ค. 57) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมฐานราก“โครงการจัดทำแผนแม่บทการศึกษาธรณีสัณฐานเพื่อการวางแผนลดผลกระทบจากการทรุดตัวของตลิ่งในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ของ กรม ทรัพยากรธรณี (ก.พ. 56-มิ.ย. 56) – หัวหน้าโครงการ “วิเคราะห์และออกแบบเพื่อเสริมเสถียรภาพความมั่นคงของบ้านมั่นคงสหกรณ์เคหสถานบ่อทองเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ของ สำนักงานบ้านมั่นคงชุมชนบ่อทอง จังหวัดจันทบุรี (มี.ค. 56-ต.ค. 57) – หัวหน้าโครงการ “การสำรวจ ความเสียหายท่าเทียบเรือบางปะกง” ของ สหวิริยา กรุ๊ป (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2556) – หัวหน้าโครงการ “การออกแบบเขื่อนป้องกันตลิ่ง” ของ คุณฤทธิรงค์ บุญมีโชติ (ร่วมกับ บจก. ศิลา, 2556) – ปรึกษาและหัวหน้าโครงการ “สำรวจและจัดทำแผนที่เส้นชั้นความสูงโครงการก่อสร้างคลังสินค้า บริษัท วังน้อย เบเวอเรช จำกัด” ของ บริษัท วังน้อย เบเวอเรช จำกัด (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2556) – ที่ปรึกษาโครงการ “แก้ไขเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำบางปะกง บริเวณวัดบางโรง อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา” ของ กรมโยธาธิการและผังเมือง (ร่วมกับ บจก.ศิลา, 2556) |
2554 – 2555 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการงานศึกษาแนวทางลดผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา” ของ กรมทรัพยากรธรณี (เม.ย. 55-พ.ย. 55) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมฐานราก“โครงการศึกษาและจัดทำแบบมาตรฐานเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง” ของ กรมเจ้าท่า (ส.ค. 54-พ.ย. 55) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี “โครงการการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น, งานควบคุมการก่อสร้างถนน จำนวน 40 สาย” (ร่วมงานกับ PCBK Co., Ltd.) – หัวหน้าคณะผู้ศึกษาและออกแบบ“โครงการประเมินความปลอดภัยและออกแบบเบื้องต้นเพื่อแก้ไขปัญหาการพิบัติของเหมืองลึก 100 เมตร ที่จะมีผลกระทบต่อรางรถไฟ” ของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย – ผู้เชี่ยวชาญโครงการ “ยกอาคารพักอาศัย จำนวน 2 หลังเพื่อแก้ไขปัญหาการวิบัติของตอม่อ” ของ Property Perfect Co., Ltd. |
2552-2553 | – ที่ปรึกษาโครงการ “ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรม และวิเคราะห์พฤติกรรมสำหรับงานขุดดินระดับลึกติด Chimney Tower สูง 100 เมตร โครงการ GHECO-One Coal Fired Power Plant บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง” ของ Ten Consultants Co., Ltd. (พ.ย. 52-เม.ย. 53) – ที่ปรึกษา“โครงการสารวจและศึกษาคลื่นสั่นสะเทือนจากการฝึกใช้อาวุธทางอากาศ (ทิ้งระเบิด) ต่อโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์ บริเวณ อ.โคกสาโรง จ.ลพบุรี” ของ Ten Consultants Co., Ltd. (พ.ย.-ธ.ค. 52) – หัวหน้าโครงการฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี “โครงการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดินพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลดินในการประเมินการเกิดน้ำท่วมจากการทรุดตัวของชั้นดิน กรุงเทพฯ และการยกระดับของน้ำทะเล” ของ กองธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี (ม.ค. 52-ก.ย. 52) – ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมฐานราก“การแก้ไขปัญหาฐานรากบนไหล่เขาโครงการก่อสร้างเจดีย์ บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี ความสูง 119 เมตร” ของ วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ. จันทบุรี (มิ.ย. 51- ธ.ค. 52) – หัวหน้าโครงการ“โครงการศึกษาประเมินความปลอดภัยและแก้ไขปัญหาการทรุดตัวของ โครงสร้างทางขึ้น-ลง และบันไดทางขึ้นด่านเก็บค่าผ่านทางของทางพิเศษบูรพาวิถี ตลอดความ ยาว 55 กม.” ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (เม.ย. 51-เม.ย. 52) |
2550-2551 | – รองหัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการพัฒนาและปรับปรุงจัดทำประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) สำหรับประเทศไทย โครงการย่อยที่ 8 : ข้อบังคับ เกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน” ของ กรมโยธาธิการและผังเมือง (ก.ค.50-ธ.ค. 51) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี “โครงการศึกษาปริมาณการตกตะกอนใน แม่น้ำเจ้าพระยาและออกแบบลาดขุดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือในลำน้ำเจ้าพระยา” ของ อู่เรือวัง เจ้า (มิ.ย. 50-ส.ค. 50) |
2548-2549 | – หัวหน้าโครงการทางวิศวกรรมปฐพี“โครงการทางวิศวกรรมปฐพีวิทยางานก่อสร้างที่พักอาศัย พร้อมสนามกอล์ฟ โครงการพัฒนาที่ดินปทุมธานี” ของ บจก.แปลน พร็อพเพอร์ตี้ส์ (ต.ค. 48- ก.พ. 49) – ที่ปรึกษา “โครงการด้านการออกแบบการวางท่อก๊าช ภูฮ่อม-น้ำพอง, บริษัท การปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)” ของ Ten Consultants Co., Ltd. (2548-2549) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการจัดทำมาตรฐานระบบบริการธรณีวิศวกรรมด้านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการธรณีวิศวกรรม และจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านธรณีวิศวกรรม” ของกองธรณีเทคนิค กรมทรัพยากรธรณี, รับผิดชอบงานการจัดตั้งห้องปฏิบัติการธรณีวิศวกรรม และจัดทาระบบฐานข้อมูลด้านธรณีวิศวกรรม (พ.ค.47-ม.ค. 48) |
2540-2547 | – ที่ปรึกษา “โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลอุปกรณ์ตรวจวัดพฤติกรรมในสนาม” ของ บริษัท เอส ที เอส อินสตรูเม้นท์ จำกัด (พ.ย.47-เม.ย. 47) – ที่ปรึกษาด้านการติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมของดินในสนามใน“โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ” ของ G.M.T. Corporation Co., Ltd. (มี.ค. 40) – ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมปฐพี ในงานฐานรากและงานทดสอบดิน ของ Ten Consultants Co.,Ltd. (ต.ค.39-ก.ย. 40) |
2. งานวิจัยความปลอดภัยเขื่อน
ระยะเวลา | ตําแหน่ง/ความรับผิดชอบ |
– หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน “งานจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาเกณฑ์ความปลอดภัยจากเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จังหวัดลพบุรี” ของ กรมชลประทาน (พ.ศ. 2562-2563) – ผู้จัดการโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเขื่อน“โครงการศึกษาเกณฑ์ความปลอดภัย จากเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลจังหวัดเชียงใหม่” ของกรมชลประทาน(พ.ศ. 2562-2563) – Emergency Inspection by Team of Expert “Nam Lik1 Dam, Laos” Nam Lik 1 Power Company Limited – Dam Behavior Engineer/Deputy P.M., “Ground Aeration Sound Survey for NN2 dam”, Nam Ngum 2 Power Company Limited, Lao PDR – Dam Behavior Engineer/Deputy P.M., “Consultant for Root Cause Analysis – IAG” SK Engineering and Construction Co., Ltd . | |
2561 – ปัจจุบัน | – หัวหน้าโครงการ “งานจ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจออกแบบการปรับปรุงดินชั้นฐานรากอ่างเก็บน้ำมรสวบ ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ของ สำนักงาน ทรัพยากรน้ำภาค7 – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว“ประเมินความเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัยเขื่อนดินช่องเขาขาด ของเขื่อนสิริกิติ์” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (ก.ย.61-ก.พ.62) |
2558 – 2560 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว “โครงการจ้างดำเนินงานตรวจสอบและทดสอบระบบ DS-RMS” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ต.ค.58 – มี.ค. 60) – หัวหน้าคณะที่ปรึกษา “ศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการทรุดตัวและเคลื่อนตัวเพื่อการออกแบบปรับปรุงเขื่อนคลองป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง” ของ กรมชลประทาน (ก.ค.- ธ.ค.60) – หัวหน้าคณะที่ปรึกษา “งานศึกษาแนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Assessment) และจัดลำดับความเสี่ยงภัย (Hazard Classification) สำหรับเขื่อนของกรมชลประทาน ส่วนความ ปลอดภัยเขื่อน จังหวัดกรุงเทพมหานคร” ของ กรมชลประทาน (ก.ค.60-พ.ย.61) – หัวหน้าโครงการและผู้ช่วยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเขื่อน“โครงการศึกษาเกณฑ์ความปลอดภัยเขื่อนสาหรับเครื่องมือวัดพฤติกรรมเพื่อการปรับปรุงเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์” ของ กรม ชลประทาน (ก.ค.58-พ.ค.59) – หัวหน้าคณะที่ปรึกษาและหัวหน้าคณะผู้ออกแบบ “งานจ้างออกแบบปรับปรุงเขื่อนและอาคารประกอบ โครงการเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย” ของ กรมชลประทาน (ก.ค.58-ม.ค.59) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน “โครงการ งานวิเคราะห์ คัดเลือก และจัดทำเกณฑ์ด้านความปลอดภัยเขื่อนจากเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนของ กฟผ. (14 เขื่อน)” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รับผิดชอบงานจัดทาเกณฑ์ด้านความปลอดภัยเขื่อนและระบบ เครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน (มิ.ย.55-พ.ค.2558) |
2555 – 2557 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน“โครงการศึกษาวิเคราะห์ และออกแบบซ่อมแซมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี” ของ กรมชลประทานรับผิดชอบงาน วิเคราะห์และออกแบบซ่อมแซมสันเขื่อนและหาสาเหตุของการเกิดรอยแตกบนสันเขื่อน (ก.ค. 57-พ.ย. 57) – หัวหน้าคณะออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการงานติดตามพฤติกรรมเขื่อน จากเครื่องมือตรวจวัดระหว่างการซ่อมแซมลาดเขื่อนด้านท้ายน้ำของอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา ระยะเวลา 6 เดือน และ 10 เดือน” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับผิดชอบงานวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนและการซ่อมแซมลาดชันเขื่อน (ก.ค.55-ต.ค.56) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว“โครงการวิเคราะห์ความมั่นคงของเขื่อน RPB ต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รับผิดชอบงานวิเคราะห์พฤติกรรมเขื่อนและประเมินความมั่นคงของตัวเขื่อนจากแรงกระทำแผ่นดินไหว (มิ.ย.55 -มิ.ย.57) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อนและแผ่นดินไหว “งานวิเคราะห์และออกแบบซ่อมแซมเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน” ของ กรมชลประทานรับผิดชอบงาน วิเคราะห์พฤติกรรมเขื่อนและประเมินแนวทางการซ่อมแซมตัวเขื่อน (ก.ย.55-พ.ค.56) |
2554 – 2555 | – Dam Behavior Engineer/Deputy P.M., “Dam Monitoring and Interpretation for Nam Ngum2 Dam Lao PDR” for CH.KARNCHANG (LAO) COMPANY LIMITED (ม.ค.54- ธ.ค.55) – หัวหน้าคณะออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการจ้างออกแบบซ่อมแซม บารุงรักษาอ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา” ของ การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (พ.ย.-ธ.ค. 54) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว“โครงการวิเคราะห์ความ มั่นคงของเขื่อนสิริกิติ์ (SRK) ต่อแรงกระทาจากแผ่น ดินไหว” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (พ.ย.52-พ.ย.54) |
2553-2554 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว“โครงการวิเคราะห์ความมั่นคงของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง (LTK) ต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (ก.ย.53-พ.ค.54) |
2552-2553 | – ที่ปรึกษา “งานศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบโครงการอ่างเก็บน้ำผู้ใหญ่มี ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์” ของ Ten Consultants Co., Ltd. (ต.ค.-ธ.ค.52) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการศึกษาและออกแบบแก้ไขการรั่วซึมของฐานยันเขื่อนและฐานรากเขื่อน โครงการไฟฟ้าพลังน้ำแม่มาว อ.ฝาง จ.เชียงใหม่” ของ กรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกัษ์พลังงาน (มี.ค.51-มี.ค.52) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อน “โครงการการติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนน้ำงึม 2” ของ บริษัท ช.การช่าง (ลาว) จำกัด (ม.ค.51-ธ.ค.53) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว“โครงการวิเคราะห์ความมั่นคงของเขื่อนวชิราลงกรณ (VRK) ต่อแรงกระทาจากแผ่นดินไหว” ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (ต.ค.50-ต.ค.52) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อน “โครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เพื่อจัดทำแผนเตือนภัยกรณีเขื่อนแตก” ของกรมชลประทาน (ร่วมงานกับ บจก.ปัญญา คอนซัล แตนท์) รับผิดชอบงานประเมินความเสี่ยงและโอกาสการพิบัติและความสูญเสีย (ส.ค.50-ก.พ.52) |
2550-2551 | – ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเขื่อน “โครงการศึกษา DamBreak เขื่อนคลองมะเดื่อ อาเภอ เมือง จ.นครนายก เพื่อจัดทาแผนเตือนภัยกรณีเขื่อนแตก” ของกรมชลประทาน (ร่วมงานกับ บจก.ปัญญาคอนซัลแตนท์) รับผิดชอบงานประเมินความเสี่ยงและโอกาสการพบิัติและความ สูญเสีย (ก.ย.49-พ.ย.50) – วิศวกรโยธาและหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรม“โครงการการอ่านค่าวเิคราะห์ผลและถ่ายทอดความรู้ด้านเครื่องมือวัดพฤติกรรมภายหลังการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จ.นครนายก” รับผิดชอบในส่วนการจัดระบบการตรวจสอบเขื่อนด้วยสายตา ของ กรมชลประทาน (ม.ค.49-ม.ค.50) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อนและแผ่นดินไหว“โครงการวิเคราะห์ความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ (SNR) ต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหว” ของ บมจ.กฟผ. (ธ.ค.48-พ.ค. 50) – Dam Safety/Instrument and Material Expert และอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น “โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พิษณุโลก” ของกรมชลประทาน (ร่วมงาน กับ บจก. พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์) (พ.ย.48-ธ.ค.51) |
2548-2549 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเขื่อน “โครงการบริหารจัดทำวิดีทัศน์ภัยน้ำท่วม จากเขื่อนแตกแผนการปฏิบัติงานของการศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวเพื่อใช้ในการ ประชาสัมพันธ์การเตือนภัยกรณีเขื่อนศรีนครินทร์” ของกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมกรม ทรัพยากรธรณี (ก.ย.-ธ.ค. 49) – ที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงและทดสอบวัสดุ “โครงการปรับปรุงเขื่อนลำปาว จ. กาฬสินธุ์” ของกรมชลประทาน(ร่วมงานกับ บจก.เซ้าท์อี๊สท์เอเซียเทคโนโลยี)รับผิดชอบงาน วางแผนการศึกษาและวิเคราะห์ผล (พ.ค.46-มี.ค.48) |
3. งานวิจัยดินถล่ม
ระยะเวลา | ตําแหน่ง/ความรับผิดชอบ |
2563-ปัจจุบัน | – หัวหน้าโครงการวิจัย“นวัตกรรมการจัดการเพื่อรับมือภัยพิบัติดินถล่ม” ทุนวิจยัจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (พ.ศ.2564-2565) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“โครงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศสำหรับแบบจำลองพลวัตการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม” ของกรมทรัพยากรธรณี (พ.ศ. 2563-2564) – หัวหน้าโครงการ “โครงการ การสารวจและทดสอบด้านธรณีวิศวกรรมเพื่อประเมินความมั่นคง ของลาดดิน บ้านสันติคีรี หมู่ที่ 1 บริเวณหลังร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น และบ้านธาตุ หมู่ที่ 4 บริเวณพื้นที่ประสบภัยพิบัติดนิ เคลื่อนตัว ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย” ของ องค์การบริหารส่วนตาบลแมส่ ลองนอก (พ.ศ. 2562-2563) |
2561-2562 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “จ้างเหมาการเชื่อมโยงระบบแบบจำลองพลวัตรการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสำหรับการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม” ของกรมทรัพยากรธรณี (พ.ศ. 2562-2563) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “จ้างเหมาบริการจัดทำข้อเสนอแนะในการป้องกันน้ำใต้ดินและน้ำท่วมขังของแหล่งขึ้นทะเบียนซากฯ บริเวณไม้กลายเป็น หินต้น ที่ 1 และไม้กลายเป็นหินที่พบใหม่ในสระน้ำ” ของกรมทรัพยากรธรณี (พ.ศ. 2561-2562) |
2558-2560 | – หัวหน้าโครงการ“การรับมือภัยพิบัติดินถล่มในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ” ของโครงการพัฒนาดอยตุง (พ.ย.59-พ.ค.60) – Technical Expert -Geology, A Risk-based Assessment for Landslide Mitigation of High Land in PNG (Western Highlands, Chimbu and Madang, for “The Regional Integrated Multi-Hazard Early Warning System for Africa and Asia (RIMES)” (ก.พ.- ก.ย.60) – Engineering landslide expert “Landslide Disaster and Climate Risk Management (LDCRM) and Climate change impact assessment” for ADAP-T Project (ม.ค.60-ธ.ค. 65) – หัวหน้าโครงการวิจัย“ศึกษาพฤติกรรมการเกิดดินถล่มเพื่อการป้องกันและสร้างระบบเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ภาคเหนือ: พื้นที่ต้นแบบบ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย” ด้วยทนุ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ทุนวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2558-2564 – Project Manager and Engineering landslide expert “Risk evaluation of Slope Failure According to Climate Change Case Study Area: Khao Pha Nom , Krabi Province” ด้วยทุน Impat-T (พ.ศ. 2554-2556) |
2555 – 2557 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “โครงการความเป็นไปได้และความถี่ของการเกิดอุทกภัย/ดินถล่มจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/ภาวะโลกร้อน: พื้นที่ศึกษาภาคเหนือ” ของ กรมทรัพยากรน้ำ (พ.ค. 6-ต.ค. 7) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“งานศึกษาพัฒนาแบบจำลองพลวตัการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสำหรับการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)” ของ กรมทรัพยากรธรณี (ก.พ.56-ส.ค.57) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“งานศึกษาพัฒนาแบบจำลองพลวตัการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสำหรับการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม (พื้นที่ภาคกลาง)” ของ กรมทรัพยากรธรณี (ก.พ.56-ก.ย.56) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “โครงการตรวจวัดพฤติกรรมทางวิศวกรรมของลาดดินพื้นที่ลาดดินโรงเรียนกะตะ ต.ป่าตอง อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต” ของ OYO Corporation, Japan (ม.ค.55-ม.ค.56) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“งานศึกษาพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ” ของ กรม ทรัพยากรธรณี (พ.ค.55-ม.ค.56) – หัวหน้าโครงการ “ประเมินคุณสมบัติดินในพื้นที่ดินถล่ม จ.เชียงราย และ จ.ลำปาง” ของ กรม ทรัพยากรธรณี (เม.ย.-ต.ค. 55) |
2552-2554 | – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม “โครงการการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อเตือนภัยดินถล่ม” ของ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) (ม.ค.53-ม.ค.54) – ผู้เชี่ยวชาญด้านปฐพีกลศาสตร์และดินถล่ม “โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยรี (EIA) จ.อุตรดิตถ์ สร้างแบบจำลองดินถล่มเพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อการเก็บกักน้ำของเขื่อน” ของ ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (เม.ย.51-ก.ค.52) – หัวหน้าโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้านดินถล่ม “การศึกษาการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดดินประวัติบุคคลถล่มในลุ่มน้ำป่าตอง จ.ภูเก็ต” ผลการดำเนินงานทำให้เทศบาลป่าตองได้เป็นเมืองต้นแบบในการจัดการภัยดินถล่มของ UNDPC – Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) (ธ.ค.49-ธ.ค. 52) |
2550-2551 | – หัวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมการเกิดน้าท่วม-ดินถล่ม ในพื้นที่ตน้ แบบเพื่อสร้าง แบบจาลองสาหรับกาหนดเกณฑ์และวิธีการในการเตือนภัย” ด้วยทุนจากสานักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนวิจัยต่อเนื่อง 6 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550-2556 รับผิดชอบ งาน วางแผนการศึกษาและวิเคราะห์ผล (พ.ศ. 2550-2556) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี “โครงการศึกษาเสถียรภาพของลาดชนั ใน พื้นที่โครงการพฒั นาดอยตุง” ของ กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี (ส.ค.-ต.ค. 50) |
2548-2549 | – หัวหน้าโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้านดนิ ถล่ม “โครงการศึกษาหาแนวทางแก้ไข ออกแบบ ปรับปรุงป้องกันการทรุดตัวของถนนขึ้นเขื่อนและลาดเชิงเขา โครงการไฟฟ้าพลังนา้ แม่มาว อ.ฝาง จ.เชียงใหม่” ของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (ก.ค.-พ.ย.49) – ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ความเสี่ยงจากธรณีพิบัติภัย “โครงการกำหนดค่าดัชนีความชุ่มชื้นของ ดิน (API) เพื่อสนับสนนุ การเตือนภัยล่วงหน้า น้ำท่วมฉับพลัน-แผ่นดินถล่ม โดยวิเคราะห์เกณฑ์ น้ำฝนวิกฤติสำหรับเตือนภัยดินถล่มทั่วประเทศ” ของกรมทรัพยากรน้ำ โดย ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, รับผิดชอบงานรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านธรณีวิทยาฐานราก และปฐพีกลศาสตร์ และร่วมกำหนดค่าดัชนีความชุ่มชื้นของดินเพื่อสนับสนุนการเตือนภัยล่วงหน้า น้ำท่วมฉับพลัน-แผ่นดินถล่ม (พ.ย.48-ก.ย.49) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการศึกษาหาแนวทางป้องกันและลดผลกระทบจากภัยดินถล่ม” ของ กองธรณีสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี (ก.ค.48-ม.ค.49) – ที่ปรึกษาโครงการ “ศึกษาแผ่นดินถล่มเกาะระ จ.พังงา “ของ กรมทรัพยากรธรณี (ร่วมงานกับ GMT CORPORATION LTD., ก.ค.-ต.ค. 48) |
4. งานวิจัยธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว/ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม
ระยะเวลา | ตําแหน่ง/ความรับผิดชอบ |
2563-2564 | – หัวหน้าโครงการ“การศึกษาสำรวจความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติและจัดทำแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” แหล่งทนุ : นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, จำนวนเงินทุนวิจัย 1,642,000 บาท, ปี พ.ศ. 2563 |
2562-2563 | – หัวหน้าโครงการวิจัย“การพัฒนาเจ้าพระยาเดลต้า 2040”แหล่งทุน: สำนักงานคณะกรรมการ” ส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), จำนวนเงินทุน วิจัย 4,203,742 บาท, ปี พ.ศ. 2562 – หัวหน้าโครงการ “โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อการจัดทำและปรับปรุงแผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม” ของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
2558-2560 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว “โครงการวิจัยการเกิดสภาพดินเหลวตัวเนื่องจากแผ่นดินไหวในอาเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย” ทุนวิจัยจากสานักงานกองทุน สนับสนนุ การวิจัย (สกว.) (ส.ค.58-ก.พ.60) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“โครงการประเมินพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มเพื่อการปรับปรุงแก้ไขและลดผลกระทบที่อาจเกิดต่อแนวท่อส่งก๊าซ RC4000_42BVW1-BVW7” ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ก.พ.58-ต.ค.58) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“โครงการศึกษาประเมินความเสี่ยงและผลกระทบระดับภูมิภาคจากแผ่นดินไหว สำหรับโครงการซอติก้า อ่าวเมาะตะมะ ประเทศเมียนมาร์” ของ บริษัท ปตท.ส.ผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สาขาเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ (ก.ย. 57-พ.ค.58) |
2555-2557 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม“โครงการประเมินEngineering Assesment บนแนวท่อส่งก๊าซ Zawtika ของ PTTEPI เมืองกันบอก สาธารณรัฐแห่งสหภาพ พม่า” ของ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) (ส.ค.57-ธ.ค.57) – หัวหน้าโครงการ “โครงการขุดบ่อเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และ อ. ปลายพระยา จ.กระบี่” ของ Thai Biogas Energy Co.,Ltd. (ส.ค.57-ก.ค.58) – ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาแผ่นดินไหว/แหล่งแร่/วัสดุก่อสร้าง“โครงการศึกษาวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำ แซร์ออ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว” ของ กรม ชลประทาน, รับผิดชอบงานสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลด้านธรณีวิทยาฐานรากประเมินความเสี่ยง จากรอยเลื่อนและแผ่นดินไหวสำหรับการออกแบบเขื่อน ประเมินแหล่งวัสดุก่อสร้าง เพื่อประกอบการออกแบบองค์ประกอบของโครงการ (ก.ย.56-ต.ค.57) – ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาแผ่นดินไหว/แหล่งแร่/วัสดุก่อสร้าง“โครงการศึกษาวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ (EIA) อำเภอคาชะอี จังหวัดมุกดาหาร” ของ กรมชลประทาน, รับผิดชอบงานสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลด้านธรณีวิทยาฐานรากประเมินความเสี่ยง จากรอยเลื่อนและแผ่นดินไหวสำหรับการออกแบบเขื่อน ประเมินแหล่งวัสดุก่อสร้าง เพื่อประกอบการออกแบบองค์ประกอบของโครงการ (ก.ย.56-ต.ค.57) – หัวหน้าโครงการ “การวิจัยเพื่อออกแบบงานขุดบ่อเพื่อผลิตแก๊สชีวภาพ สำนักงาน อ.ท่าฉาง จ.สุ ราษฎร์ธานี และ จ.พังงา” ของ Thai Biogas Energy Co., Ltd. (พ.ค.-ธ.ค. 55) |
2552-2553 | – ผู้เชี่ยวชาญด้านดิน / การพังทลายของดิน “โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมต่อกะทู้-ป่าตอง” ของเทศบาลเมืองป่าตอง จ.ภูเก็ต / ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ก.ค.52-ก.ย.52) |
2548-2549 | – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการศึกษาการแพร่กระจายของชั้นดินเหนียวเพื่อเป็นแหล่งฝังกลบขยะป้องกันการปนเปื้อนสู่แอ่งน้ำบาดาล และโครงการศึกษา ผลกระทบการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีผลกระทบต่อน้ำบาดาลในลุ่มน้ำสทิงพระ” ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ก.ย.48-ม.ค.49) – หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี“โครงการศึกษาการแพร่กระจายของชั้นดินเหนียวเพื่อเป็นแหล่งฝังกลบขยะป้องกันการปนเปื้อนสู่แอ่งน้ำบาดาล” ของ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (มิ.ย.48 – มี.ค.49) |
งานออกแบบ
1. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ HI-TECH INDUSTRIAL ESTATE ธันวาคม 2556 Evaluation of flood protection |
2. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ ROJANA INDUSTRIAL PARK ธันวาคม 2556 Evaluation of flood protection |
3. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ suratthani beverage Co., Ltd. กันยายน 2557-ปัจจุบัน design flood wall protection |
4. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ geotechnical engineering research and development center(main contract) มีนาคม 2556 – ตุลาคม 2557 surveying and design HDD, Tunnel for electrical pipeline |
5. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ CH. KARNCHANG PLC.(main contract) มิถุนายน 2555 – กรกฎาคม 2555 improvement and design pile foundation |
6. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Crawford & Company (Thailand) Ltd. มิถุนายน 2555 – ตุลาคม 2555 damage and cost estimate of structural |
7. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Property Perfect PLC. กุมภาพันธ์ 2555 – พฤษภาคม 2556 monitor and Analysis of settlement |
8. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Royal Cliff Beach Hotel มีนาคม 2556 – กรกฎาคม 2557 design slope stability and slope protection |
9. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Architectural Engineering 49 Limited กุมภาพันธ์ 2556 – มีนาคม 2557 design slope stability and slope protection |
10. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Chiangmaibeverage Co., Ltd. มีนาคม 2556 – พฤษภาคม 2557 design flood wall protection |
11. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Singhabeverage Co., Ltd. กรกฎาคม 2556 – เมษายน 2557 design flood wall protection |
12. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Boon Rawd Brewery Co., Ltd. มีนาคม 2555 – มีนาคม 2556 improvement and design flood wall protection |
13. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Amcor Flexibles BANGKOK เมษายน 2555 – กรกฎาคม 2557 design flood wall protection |
14. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกเเบบ นิคมอุสาหกรรมเหมราชนคร หนองเเค สระบุรี ธันวาคม 2554-ปัจจุบัน ออกเเบบรายละเอียดคันป้องกันน้ำท่วมโดยการปรับปรุงคันเก่าเเละสร้างคันใหม่ |
15. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกเเบบ Bangkok Aviation Fuel Service Public Company Limited, Index International Group Ltd ธันวาคม 2554-กุมภาพันธ์ 2555 ออกเเบบรายละเอียดรั้วป้องกันน้ำท่วมคลังน้ำมันสนามบินดอนเมือง |
16. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกเเบบ Chuchawal Royal Haskoning Co.Ltd. กุมภาพันธ์ 2555 ออกเเบบรายละเอียดรั้วป้องกันน้ำท่วม โรงงาน Perrier อยุธยา |
17. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกเเบบ มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ ธันวาคม 2554-กุมภาพันธ์ 2555 ออกแบบรายละเอียดรั้วป้องกันน้ำท่วม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน |
18. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ที่ปรึกษา และ Designer บริษัท เมกก้าเทค คอนซัลแตนท์ จากัด ธันวาคม 2552 – มีนาคม 2553 โครงการซ่อมแซมการเคลื่อนตัวของลาดตลิ่ง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก |
19. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ที่ปรึกษา และ Designer DVMVS Co; Ltd. ตุลาคม – ธันวาคม 2552 งานศึกษาเพื่อหาสาเหตุการพิบัติของบ่อดินขุด และงานออกแบบแก้ไขการพิบัติของบ่อดินขุด (Conceptual Design) สำหรับบ่อบำบัดน้ำกากส่า องค์การสุรา กรม สรรพสามิตอ.บางคล้าจ.ฉะเชิงเทรา |
20. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | Designer Ten Consultants Co., Ltd. ตุลาคม – พฤศจิกายน 2552 วิเคราะห์กำลังรับน้ำหนักและการทรุดตัวของเสาเข็มถังเก็บน้ำมัน บริษัท เชลล์แห่ง ประเทศไทย จำกัด บริเวณแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร |
21. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | Designer สมาคมสหพันธ์การกุศล “เต็กก่า” แห่งประเทศไทย สิงหาคม – กันยายน 2552 ออกแบบกำแพงกันดินริมตลิ่งสูง 4 เมตร บริเวณ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี |
22. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | Designer คุณสิทธิพงษ์ ลาภบริสุทธิศักดิ๋ กรกฎาคม – สิงหาคม 2552 ออกแบบกำแพงกันดินริมตลิ่งสูง 2 เมตร บริเวณบางนา กม.23 |
23. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้วิเคราะห์และออกแบบ องค์การบริหารส่วนจ.นนทบุรี กันยายน 2550 สำรวจวิเคราะห์เสถียรภาพของดินในสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี |
24. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้วิเคราะห์และออกแบบ วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 1 มิถุนายน 2549 – 10 กันยายน 2550 ออกแบบปรับปรุงงานฐานรากและลาดชันโครงการก่อสร้างเจดีย์บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี |
25. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 1 มิถุนายน 2549 – 10 กันยายน 2550 การวิเคราะห์และออกแบบการปรับปรุงกำแพงกันดินริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงวัดปทุมคงคา-ศาลเจ้าโรงเกือก |
26. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้วิเคราะห์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี พฤษภาคม 2549 วิเคราะห์ความมั่นคงของลาดดนิในโครงการก่อสร้างระบบกาจดัขยะมูลฝอยตาบล คลองขวาง อาเภอไทรน้อย จ.นนทบุรี |
27. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Ten Consultants Co., Ltd. สิงหาคม 2548 – กันยายน 2548 ออกแบบการปรับปรุงฐานรากดินอ่อนด้วยเสาเข็มดิน–ซีเมนตข์องคันดินบ่อพักน้ำสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อน บริษัท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) อ.จะนะ จ.สงขลา |
28. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | Designer Mekong River Commission, Lao People’s Democratic Republic พฤษภาคม 2540 Design of Bank Protection System in LAO Along, Mekong river using Mechanical Stabilized Earth as a Retaining Wall for “ Lao Mekong River Bank Protection Project” |
29. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ออกแบบ Water Development Consultants Co., Ltd. ตุลาคม 2539 – กันยายน 2540 ออกแบบกำแพงกันดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมหาสวัสดิ์ ในโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมหาสวัสดิ์ |
30. | ตำแหน่ง ผู้ว่าจ้าง ระยะเวลา ความรับผิดชอบ | ผู้ช่วยผู้ออกแบบ Asian Institute of Technology 2539 – 2540 ออกแบบฐานราก Cement Column ของถนนสายบางนา-ตราด ความยาว 55km. |
งานวิจัย
งานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับปริญญา
Ph.D. Dissertation: Estimating Probability of Earthquake – Induced Failure of Earth Dams
Master Thesis: Evaluation Of Design Mix Procedures for Soil-Cement With And Without Additives For Application To The Reconstruction Of The Bangna – Trad Highway Improved With Deep Mixing Method
ทุนวิจัย
- หัวหน้ําโครงการการพัฒนาเจ้าพระยาเดลต้า2040,แหล่งทุน:สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), จำนวนเงินทุนวิจัย 4,203,742 บาท, ปี พ.ศ. 2562
- หัวหน้ําโครงการการศึกษาสำรวจความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติและจัดทำแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แหล่งทุน: นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, จำนวนเงินทุนวิจัย 1,642,000 บาท, ปี พ.ศ. 2563
- หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชําญด้านวิศวกรรมดินถล่มเรื่องศึกษาพฤติกรรมการเกิดดินถล่มเพื่อ การป้องกันและสร้างระบบเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ภาคเหนือ: พื้นที่ต้นแบบบ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ด้วยทุนจากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ทุนวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2558-2561
- หัวหน้าโครงการ Landslide Disaster and Climate Risk Management (LDCRM) and Climate change impact assessment ด้วยทุน ADAP-T Project ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2565
- หัวหน้าโครงการเรื่องการเกิดสภาพดินเหลวตัวเนื่องจากแผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาวจังหวัดเชียงรายด้วยทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระยะเวลา พ.ศ. 2558-2560
- หัวหน้าโครงการเรื่อง Risk evaluation of Slope Failure According to Climate Change Case Study Area: Khao Pha Nom , Krabi Province ด้วยทุน Impat-T ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2554-2556
- หัวหน้าโครงการเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการเกิดน้ำท่วม-ดินถล่มในพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับกำหนดเกณฑ์และวิธีการในการเตือนภัย. ด้วยทุนจากสำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนวิจัยต่อเนื่อง 6 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550-2556
- หัวหน้าโครงการเรื่องการศึกษาผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนเพื่อการชลประทานในประเทศไทย. ด้วยทุนอุดหนุนการวิจัย มก. ประจำปี 2553
- หัวหน้าโครงการเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการสั่นของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว ด้วยทุนอุดหนุนวิจัย มก. ประจำปี 2551
- หัวหน้าโครงการ เรื่อง ศึกษาการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในลุ่มน้าป่าตอง จ.ภูเก็ต ด้วยทุน ADPC, Presented for Asian Program for Regional Capacity Enhancement for Landslide Impact Mitigation (RECLAIM II) ระยะเวลา พ.ศ. 2549-2551
- หัวหน้าโครงการ เรื่อง ศึกษาการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงภัยของเขื่อนเพื่อการชลประทาน ในประเทศไทย ด้วยทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระยะเวลา พ.ศ. 2548-2549
- หัวหน้าโครงการ เรื่องการพัฒนาโปรแกรมสื่อการสอนวิชาปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics Laboratory) ด้วยทุน ทุนอุดหนุนการวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระยะเวลา พ.ศ. พ.ศ. 2548-2550
- หัวหน้าโครงการ เรื่องพัฒนาเครื่องมือเพื่อผลิตดินเทียมโดยใช้หลักการของการตกตะกอนและ Pre- Consolidation ด้วยทุน ทุนวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2547-2548
- หัวหน้าโครงการร่วมกับ Prof. D.T. Bergado เรื่อง ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินโดย Thermal Consolidation เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัวในระยะยาวของชั้นดินเหนียวอ่อน ด้วยทุน ทุนรัฐบาลไทย ระยะเวลา พ.ศ. 2546-2547
- Researcher สถานที่ทำงาน Risk Assessment Consultant LTD., USA. หัวข้อวิจัย Risk assessment demonstration project of Hills Creek Dam, Oregon, USA:
- Develop risk analysis framework and determine the probability of each event, Consider earthquake as a initiating event this project was founded by U.S. army corps of engineer. ระยะเวลา พ.ศ. 2543-2545
- Research assistant สถานที่ทำงาน University of Texas at Austin, USA หัวข้อวิจัย Roller dynamic deflect meter (RDD) test, Texas, USA. ระยะเวลา พ.ศ. 2542
- Research assistant สถานที่ทำงาน University of Texas at Austin, USA หัวข้อวิจัย Super dynamic deflect meter (SDD) test, Texas, USA. ระยะเวลา พ.ศ. 2542
- Research assistant สถานที่ทำงาน Utah State University, USA หัวข้อวิจัย True path triaxial test ระยะเวลา พ.ศ. 2542
งานวิจัยด้านกํารออกแบบเครื่องมือ
1. หัวหน้าโครงการเรื่องการพัฒนาเครื่องมือเพื่อผลิตดินเทียมเพื่อเลียนแบบดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยทุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2547 รายละเอียด งานวิจัย: พัฒนาเครื่องมือเพื่อผลิตดินเทียมโดยใช้หลักการของการตกตะกอนและ Pre- Consolidation
2. หัวหน้าโครงการ เรื่องการพัฒนานวัตกรรมด้านการทดสอบทางวิศวกรรมปฐพี ด้วยทุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2547 รายละเอียดงานวิจัย: นาระบบการวัดและ วบคุมด้านอิเลคโทรนิคและคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมและวัดค่าการทดสอบด้านปฐพีวิศวกรรม , Automatic Consolidometer
3. ที่ปรึกษา เรื่อง การพัฒนา High Pressure Consolidometer ด้วยทุน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ระยะเวลา พ.ศ. 2547 รายละเอียดงานวิจัย: พัฒนาเครื่องมือทดสอบ Consolidation เพื่อทดสอบ ดินเหนียวในระดับลึกถึง 600 เมตร เพื่อสร้างแบบจาลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดการณ์การทรุดตัว เนื่องมาจากการใช้น้ำบาดาล
ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ
หนังสือ – ตํารา
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2561. ปฏิบัติการ (ลับ) เจาะถ้ำหลวง. บันทกึ ประสบการณ์ทางานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ณ วนอุทยานถ้าหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าผู้ ประสานงานทีมขุดเจาะถ้าหลวง ในปี พ.ศ. 2561. เผยแพร่บนเว็บไซด์ https://www.researchgate.net/publication/326817011_Unsung_Heroes
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2560. ตํารา“กลศาสตร์และการจัดการดินถล่ม (Natural terrain landslide)”. ใช้ประกอบการสอนรายวิชา รหัส 01203354 ชื่อวิชา Foundation Design และรหัส 01203535 ชื่อวิชา Risk Assessment of Geotech. Eng. Structures, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จำนวน 338 หน้า
Suttisak Soralump. 2014. Documentary Photography Book “GEOHAZARDS.” Unity Publication Limited Partnership, Bangkok.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2555. วิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน เพื่อการออกแบบและบํารุงรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2555. สารคดีภาพ วิศวกรรมปฐพี ชุด ธรณีภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. พรีวัน, กรุงเทพฯ.
Suttisak Soralump. 2008. Landslide Mitigation Guideline for Patong City. Document submit to Asian Disaster Preparedness Center (ADPC).
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2552. เอกสรประกอบการสอน วิชา Soil Dynamics. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ. (เอกสารไม่ตีพิมพ์)
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2550. สื่อการสอน วิชาปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics Laboratory). (โปรแกรมคอมพิวเตอร์). ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรม โยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 2549. วิดีทัศน์ภัยน้ำท่วมจากเขื่อน แตกแผนการปฏิบัติงานของกํารศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์การเตือนภัยกรณีเขื่อนศรี นครินทร์. (โปรแกรมคอมพิวเตอร์). เสนอต่อกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี
สิ่งประดิษฐ์
1. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2561. ลิขสิทธิ์ เลขที่ ว1.7770 แอปพลิเคชันเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์พิบัติภัยดินถล่ม (24 ตุลาคม 2561) ผู้สร้างสรรค์ : รศ.ดร. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และนายวรวัชร์ ตอวิวัฒน์ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น Application ในระบบ Android และ iOS ในชื่อ “LandslideWarning.Thai” ประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี
2. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, จักรวิรนทร์ วัชรเลิศวานิช, นรวรรธน์ ถวิลนพนันท์ และนายวิษณุพร พรรษา. 2560. บล็อกเชื่อมต่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน. คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 1703001823, คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 1702003703 และ 1702003704: เป็นกำแพงป้องกันดินพังทลายที่ชุมชนสามารถผลิตและก่อสร้างได้เอง โดยใช้ต้นทุนต่ำ โดยร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ถ่ายทอด ความรู้แก่ชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่ ก) บ้านมั่นคง ชุมชนหลวงพ่อสีม่วง ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ. พระนครศรีอยุธยา ช) บ้านมั่นคงสหกรณ์เคหสถานบ่อทองเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ค) บ้านหวายช่อ ม.11 ต.กรุงชิง อ.นบพิตา จ.นครศรีธรรมราช
3. ธิดารัตน์ จิระวฒั นาสมกุล และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2558. ห้องจําลองแผ่นดินไหว. เลขที่คำขออนุสิทธิบัตร 150300163
4. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. ประดิษฐ์กรรม “กล่องเตือนภัยดินถล่มประจําบ้าน” มีการใช้งานจริงที่ จ.กระบี่, จ.เชียงราย
5. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. ประดิษฐ์กรรม “ระบบเตือนภัยพิบัติฐานชุมชน” ระบบตน้ แบบของ ประเทศไทยที่เขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ และโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และปัจจุบันระบบนี้ได้ถูกนำไปใช้โดยหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมทรัพยากรธรณี มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นต้น
6. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. ประดิษฐ์กรรม “ระบบเตือนภัยนาป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม (Debris Flow Detection System)” ได้ดำเนินการติดตั้งและใช้งานจริงในพื้นที่ดังนี้ 1) บ้านห้วยน้ำแก้ว ต.หน้าเขา อ.เขา พนม จ.กระบี่ (ติดตั้ง ก.พ. 57) I 2) บ้านดอยช้าง หมู่ที่ 3 ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย (ติดตั้ง ก.ย. 58) I 3) หมู่บ้านเสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก-ดินถล่ม จำนวน 4 สถานี ภายในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้แก่ 1) หมู่บ้านอาข่าป่ากล้วย 2) หมู่บ้านมูเซอลาบา 3) หมู่บ้านมูเซอผาฮี้ และ 4) หมู่บ้านสวนป่า ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย (ติดตั้ง พ.ค. 60 I 4) บ้านห้วยพาน หมู่ที่ 2 ตาบลกรุงชิง อาเภอนบพิตา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ติดตั้ง ม.ค. 62) I 5) อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ (ติดตั้ง ม.ค. 63)
7. สุทธิศกั ดิ์ ศรลัมพ์. 2556. ประดิษฐ์กรรม “ระบบเตือนภัยดินถล่มประเทศไทย (AP Model)” ที่ กรมทรัพยากรธรณีใช้ในการเตือนภัยดินถล่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงในปัจจุบันซึ่งมีการพัฒนาแบบจำลองดังกล่าวโดยมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นประจำ
8. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2554. ประดิษฐ์กรรม “นวัตกรรมกําแพงป้องกันน้ำท่วมแบบเร่งด่วน KU Miniature Sheet pile” มีการใช้งานจริงที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9. ควํามปลอดภัยเขื่อน เป็นผู้พัฒนาระบบการตรวจสอบสภาพเขื่อนเพื่อประเมินความปลอดภัยด้วยวิธีดัชนีความเสี่ยง Risk Index (RI) ปัจจุบัน ใช้ตรวจสภาพเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน: การวิเคราะห์/ประเมิน/ซ่อมแซม เขื่อนใหญ่ที่มีปัญหาความไม่มั่นใจด้านความปลอดภัยจากเจ้าของ เขื่อนและจากสังคม โดยในช่วงปี พ.ศ. 2555-2560 ได้ดำเนินการศึกษาเพื่อปรับปรุงเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี และเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
10. พัฒนาสมอดินเพื่อใช้ร่วมกับกําแพงกันดินสําหรับริมคลอง โดยทั่วไปการก่อสร้างกำแพงกันดินต้อง มีการขุดดินหรือถมดิม จนเกิดความต่างระดับของผิวดินมากกว่าความสูงที่มวลดินจะสมดุลย์อยู่ได้ด้วยตัวเอง จึงจาเป็นต้องมีโครงสร้างกันดินช่วยป้องกันการทะลายหรือการเคลื่อนตัวของมวลดิน โดยวิจัยร่วมกับบริษัท สยามสตลี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนนวัต กรรมไทย
11. งานก่อสร้างเข็มสลับฟันปลาเพื่อป้องกันการพิบัติชองถนนริมคลอง เป็นงานวิจัยโดยใช้แบบจำลอง โดยอาศัยเครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge Machine) ในห้องทดลองที่มหาวิทยาลัยในฮ่องกง (Hong Kong University of Science and Technology, HKUST) เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการป้องกันเสถียรภาพของตลิ่งในพื้นที่ที่ไม่สามารถสร้างแนวโครงสร้างป้องกันตลิ่งพังเนื่องจากงบประมาณจำกัดมีการใช้งานจริงในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีพร้อมทั้งมีการติดตามพฤติกรรมหลังการติดตั้ง สามารถป้องกันได้จริง และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กรม ทางหลวงชนบท และ อบจ.ปทมุ ธานี
12. การออกแบบสันเขื่อนเป็นลักษณะสันเขื่อนเสริมแรงเพื่อต้านแผ่นดินไหวเป็นแห่งแรก ณ เขื่อนแม่ สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะสามารถใช้ในศึกษาพฤติกรรมของเขื่อนที่มีการปรับปรุงสันเขื่อนเพื่อเพิ่มระดับการกักเก็บน้ำ และป้องกันแผ่นดินไหว เป็นต้น
13. การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีเทคนิคในการดำเนินการหลายเทคนิค วิธี VCM ก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและราคาต่ำ ทำให้ประหยัดงบประมาณประเทศชาติ ในงานโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานงานทางวิศวกรรมของประเทศ
วิทยากรรับเชิญ
1. “Geological Future in Thailand” Keynote Speech on The 1st Technical Seminar of Project for Capacity Development on Tunnel Project Management in Thailand, Japan International Cooperation Agency, JICA, 19 November 2021
2. “กรุงเทพทรุด” Keynote Speaker GEOTHAI Webinar 2021, การประชุมวิชาการธรณีไทย ประจาปี 2564, 4-6 สิงหาคม 2564 จัดโดย กรมทรัพยากรธรณี
3. บรรยายพิเศษ รายวิชา OE 655 Disaster Management หัวข้อ “Disaster and Development” และ “Community’s Empowerment in Disaster Preparedness” หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามันและอนามัยสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ของ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต , ระหว่าง วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2564
4. “โครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว การก่อสร้างและค้ำยันเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว อาคารถล่ม”, “ภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการป้องกันแผ่นดินไหว” หลักสูตรฝึกอบรมพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการปฏิบัติงานการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหววอาคารล่ม (หลักสูตรนาร่อง) ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2563 จัดโดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์
5. “The inside Story from the Leader of the Thai Cave Rescue Team”, invited by Construction Services in Kinki Region, 26th November 2018 in Japan;
6. “Regional experience in application of nature based solutions in improving the stability of slopes”, Nature Based Landslide Risk Management Training, 13th November 2018, Colombo – Sri Lanka Invited by ADPC and The World Bank
7. “The failure of road embankment along the irrigation canal in the soft clay subsoil from prolong drought and mitigation schemes”, Geotechnical and Geoenvironmental engineering , International Symposium on Lowland Technology 2018 (ISLT2018), 26-28 September 2018, Hanoi, Vietnam, Organizers by Lowland Research Association (LORA) of Japan
8. “พลังการทำงานร่วมกัน (synergy) ให้บรรลุเป้าหมาย: กรณีศึกษาถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย” การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความมีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้าง สศช. และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปประเทศ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น แอนด์ สปา จัดโดยสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
9. “Culture and Social Contracts” EMPOWERING ASIA to make everyday better. Beca Asia Leadership Conference 2018, 28th August 2018 at AVANI Riverside Bangkok Hotel by Beca (Thailand) co.th.
10.“การประยุกต์งานด้านปฐพีกลศาสตร์ในงานชลประทาน” โครงการสัมมนาวิชาการ หลักสูตรองค์ความรู้ด้าน วิทยาการธรณีที่ได้จากกรณีศึกษาในงานชลประทาน ระหว่างวนั ที่ 13-14 มีนาคม 2561 จัดโดยสำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา กรมชลประทาน
11.“การออกแบบเสาเข็มพืด Sheet Pile” และ “การป้องกันดินพังและการปรับปรุงคุณสมบัติของดินเหนียวอ่อน” โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการออกแบบสำหรับชั้นดินอ่อน วันที่ 9-10 มกราคม 2561 จัดโดยกรมชลประทาน
12.”Steel Sheet Pile” ในงานสัมมนา Steel Sheet pile Design and Application วันที่ 26 สิงหาคม 2560ณ ประเทศศรีลังกา จัดโดย บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด
13.“หลักการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดชันและหลักการออกแบบเสริมความแข็งแรง” โครงการอบรมเชิง วิชาการเรื่อง “องค์ความรู้ในงานวิศวกรรมปฐพีและการนำไปประยุกต์ใช้” วันที่ 2-4 กันยายน 2559 ณ โรงแรมดิเอม เมอรัลด์ กรงุ เทพฯ จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
14.“การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่และปลอดภัย” การสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อรับทราบปัญหาสิ่งแวดล้อมและหาแนวทางแก้ไขตามพื้นที่ชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. วันที่ 1 กันยายน 2559 ณ ศูนย์บูรณาการการเรียนรู้และนันทนาการ จังหวัดเชียงราย. จัดโดย อบจ.เชียงราย
15.“ผลกระทบของแผ่นดินไหว ณ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2557 ต่อโครงสร้างชั้นทางของถนน และแนวทางการออกแบบโครงสร้างชั้นทางของถนนเพื่อป้องกันแรงแผ่นดิน ไหว” โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบก่อสร้างและบารุงรักษาสะพานและถนนภายใต้แรงแผ่นดินไหว วันที่ 30 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้า กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง
16. “บทนาการสารวจดนิ , การสาธติ การเจาะสารวจหลุมลึก, การสาธิตการทดสอบกำลังรับแรงเฉือนในสนาม และการหารือและอภิปรายพร้อมทบทวนการเจาะสำรวจ” โครงการอบรมเรื่อง “การเจาะสำรวจดิน” ระหว่างวันที่ 20- 21 สิงหาคม 2559 ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโดย วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
17.Keynote Lecture “Geotechnical for Geo-Hazard Management” EIT-JSCE Joint International Symposium on Geotechnical Engineering for the Establishment of Resilient Society to Natural/Man- Made Disasters 2016, August 29 – 30, 2016, Venue: S31 Hotel Sponsored by DRC (Kyoto University)Engineering Institute of Thailand (EIT )Asian Institute of Technology (AIT) Japan Society of Civil Engineers (JSCE)Supported by Geosystem Research Institute
18.“Impacts of 2014 Chiangrai Earthquake from Geotechnical Perspectives” 9th Sino-Korea Symposium & the 2nd Global Crisisonomy Symposium , 17-18 August, 2016, Organized by Department of Public Administration, College of Social Sciences Chungbuk National University, Cheongju, Chungbuk, Korea
19.วิทยากร “หลักความปลอดภัยในงานก่อสร้างใต้ดินและกรณีศึกษา” ในโครงการสัมมนาเรื่อง ความ (ไม่) ปลอดภัยในงานก่อสร้าง ในวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2559 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโดย คณะกรรมการโครงการ วสท.
20.วิทยากร “เสวนาหัวข้อมาตรฐานธรณีวิทยาในสายงานธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำ” ในการ ประชุมเสนอผลการดำเนินงานและระดมความคิดเห็นเรื่อง “มาตรฐานธรณีวิทยาเพื่อการพัฒนาประเทศ” ในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร จัดโดย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับสมาคม ธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย
21. วิทยากร “การป้องกันท่าเรือจากภัยพิบัติชายฝั่ง” ในการสัมมนาหัวข้อ “International Seminar on Introduction of Coastal Disaster Management” 23 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมแมนดาริน ห้องบุษา ชั้น 1 จัดโดย กรมเจ้า
22. วิทยากรเสวนาหัวข้อ มาตรฐานธรณีวิทยาในสายงานธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำในการประชุมวิชาการและระดมความคิดเห็น เรื่อง มาตรฐานธรณีวิทยาเพื่อการพัฒนาประเทศ. 18 มีนาคม 2559 . กรุงเทพฯ จัด โดยสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย
23. วิทยาช่วงเวทีเสวนา “บทบาทของเด็กกับการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ” ในพิธีเปิดนิทรรศการนวัตกรรมลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ. วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 12.30-16.30 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดโดย องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children)
24. “Seismic Safety Evaluation of Dam Located near Active Fault”, International Conference on Geology, Getechnology, and Mineral Resources of INDOCHINA (GEOINDO 2015), November 25-28, 2015. (Technical Invited Speaker)
25. “Rebuilding the house to suite with ground and seismic condition” Workshop on Consequences of 2015 Nepal Earthquake & Integrated Post-Disaster Management “C2015NEIPDM” on October 08, 2015, Kathmandu, Nepal. (Invite Lecturer)
26. “Effectiveness of AP model and preparation of Doi Chang landslide mitigation” Workshop on “Mitigation technologies for Landslide” 2-6 September, 2015. Kaohsiung City, Taiwan. Invited by JSPS Core to Core program. (Invite Speaker)
27. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมการเกิดดินถล่ม”ในการสัมมนาเรื่องเสถียรภาพของเชิงลาด(Slope Stability) 24-25 สิงหาคม 2558 บรรยายให้กับกรมทรัพยากรธรณี, เชิญโดย บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด
28. “เนปาล เชียงราย กรุงเทพฯ ความเหมือนและความต่างต่อชีวิตมนุษย์” โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ “ถอด บทเรียนรับมือแผ่นดินไหว : เชียงราย-เนปาล” วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุมธีระ สูตะบุตร อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
29. “การวิเคราะห์พฤติกรรมเขื่อนจากข้อมูลเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน”โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการบริหารจัดการความปลอดภัยเขื่อนด้วยนวัตกรรมใหม่ ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุม อาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
30. “แนวทางการออกแบบและสร้างเขื่อนดิน,การวิเคราะห์เสถียรภาพของเขื่อน” โครงการสัมมนาและศึกษาดูงานนอกสถานที่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างที่ 30-31 มีนาคม 2558 ณ เขื่อนสิริกิต์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
31. “แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของทรัพยากรดินลูกรังและหินผุในประเทศไทย” เสวนาวิชาการโครงการวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินลูกรังและหินผุ (ภาคตะวันออกและสรุปรวบรวมทั้งประเทศ) วันที่ 2 ตุลาคม 2557 ณ ห้องบอลรูม บี ชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ
32. “กรณีศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมเขื่อนเพื่อหาแนวทางการแก้ไขและปรับปรุงให้มีความมั่นคง แข็งแรง” สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการจัดการความปลอดภัยเขื่อน ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2557 ณ อาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
33. “การสร้างเขื่อนคอนกรีตบดอัด” บรรยายพิเศษให้กับบริษัท เอสซีจี ซิมนต์ จำกัด ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง
34. “ระบบการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม” การอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหว ต่อดินถล่มแบบพลวัติ วันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุมกรมทรัพยากรธรณี
35. “การประยุกต์ใช้ Geosynthetics Clay Liner (GCL) ในงานวิศวกรรมโยธา” โครงการอบรมความรู้เชิงทฤษฎี การออกแบบ และการประยุกต์ใช้วัสดุสังเคราะห์ในงานวิศวกรรมโยธา ระหว่างวัน ที่ 11-12 กรกฎาคม 2556 ณ สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
36. “วิศวกรรมปฐพีกับธรณีภัย” บทความรับเชิญในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่
37. “การออกแบบระบบกาแพงกั้นน้ำในพื้นที่ดินเหนียวอ่อน” สัมมนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2555 ณ ห้อง รัชดาบอลรมู ชั้น 6 โรงแรม เอส ซี ปาร์ค
38. “การป้องกันน้ำท่วมกับปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน ” การเสวนากรมทรัพยากรน้ำบาดาล วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องลีลาวดี (การ์เด้นวิลล่า) โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพมหานคร
39. “Landslide analysis and warning system” 1st IMPACT-T Flood seminar “Integrated study on Hydro-Meteorological Prediction and Adaptation to Climate Change in Thailand” 14-17 July 2012
40. “โครงสร้างป้องกันน้ำท่วม” การประชุมวิชาการวิศวกรรมแห่งชาติ 2555 ระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม 2555 ณ ชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
41. “งานวิจัยกับการเปลี่ยนแปลงภัยพิบัติ” การประชุมวิชาการ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
42. “ประสบการณ์และการดำเนินงานศูนย์วิจัยฯ” อภิปรายเรื่อง โครงการวิจัยเด่น ประจำปี 2555” วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 ณ คณะบริหารธุรกิจ ศาลายา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสิทนทร์ จังหวัดนครปฐม
43. “เขื่อนในประเทศไทยลักษณะและสาเหตุการพิบัติของเขื่อน” เสวนา “เขื่อนแตก เรื่องจริงหรือมายาคติ” วันพุธที่ 25 มกราคม 2555 ณ ห้องประชุมกาพลอดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
44. “การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ” วันที่ 26 กันยายน 2554 และวันที่ 3 ตุลาคม 2554 Monde Nissin (Thailand) Co.,Ltd.
45. “เสวนาการวัดขนาดแผ่นดินไหว การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังกับมาตรวิทยาในประเทศไทย” ในวันที่ 19 กันยายน 2554 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ณ ห้องกินรี 1 โรงแรมอมารี ดอนเมือง
46. “การก่อสร้างบนฐานรากดินอ่อน” หลักสูตรฝึกอบรมโครงการชลประทาน สำนักชลประทาน ในวันที่ 4 สิงหาคม 2554 ณ ห้องประชุมโครงการ กรมชลประทาน ปากเกร็ด
47. “ความรู้และการเตรียมตัวเพื่อรองรับเหตุแผ่นดินไหว”โครงการอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันภัยจากแผ่นดินไหวให้กับบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวันที่ 17 มิถุนายน 2554 ณ หอประชุม เกษม จาติกวณิช 2 ชั้น 9 อาคาร ต.040 สำนักงานกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย
48. “การก่อสร้างบ่อตัน-บ่อรับ ระบบ Sheet Pile และระบบ Concrete Segment” หลักสูตรการอบรมด้าน วิศวกรรมโยธา ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโดย การประปานครหลวง ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
49. “การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว” บรรยายพิเศษให้แก่บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2554 จัดโดย สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย 50.“บทเรียนจากเหตุการณ์พิบัติภยัดินถล่มแนวทางในการป้องกันและฟื้นฟู”เสวนาวชิาการในวันที่ 27 เมษายน 2554 ณ ห้องประชุมกาพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
51. “กรณีศึกษา แบบจำลองเพื่อประเมินความปลอดภัยและปรับปรุงความมั่นคงของเขื่อน” , “การวิเคราะห์เพื่อประเมินความปลอดภัยเขื่อนในสภาวะแผน่ ดินไหวสาหรับการออกแบบหรือประเมินเขื่อนปัจจุบัน” การอบรมการ วิเคราะห์เพื่อออกแบบและประเมินความปลอดภัยเขื่อน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 5, 7-8 เมษายน 2554 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
52. “สถานการณ์ดินถล่มและปัจจัยกระตุ้นจากธรรมชาติและมนุษย์” งานวิศวกรรมแห่งชาติ 2554 ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2554 ณ ศูนย์การประชุมและแสดงนิทรรศการไบเทค จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์
53. “Development Landslide Early Warning System in Thailand” Workshop on Slope Failure Caused by Torrential Rainfall in Asian Countries in The Context of Climate Change, Graduate School of Engineering, Department of Urban Management, Kyoto University, Japan , 6-8 March 2011.
54.“เทคนิคการแก้ไขงานฐานรากและลาดตัดหิน” บรรยายพิเศษเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของนิสิตระดับบัณฑติศึกษา ในวันที่ 12 กุมภา พัน ธ์ 2554 ณ ห้องเธียเตอร์ อาคารศูนย์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสต ร์ วิทยา เขตกำแพงแสน
55. “เสถียรภาพของลาดดิน” , “การออกแบบกาแพงกันดิน” หลักสูตรฝึกอบรมโครงการชลประทานสมุทรสาคร สำนักชลประทานที่ 11 ในวันที่ 9 และ 16 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องประชุมโครงการก่อสร้าง 2 สำนักชลประทานที่ 11
56. “พฤติกรรมการเกิดดินถล่ม” และ “การป้องกันและลดผลกระทบจากภัยดินถล่ม โดยแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มแบบพลวัต” การสัมมนาการประยุกต์ใช้ข้อมลูดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่มภายใต้ความร่วมมือองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (APSCO) ในวนั ที่ 16 ธันวาคม 2553 ณ ห้อง ละอองฟ้า (ห้องประชุม 305) อาคารอมรภูมิรัตน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
57. “การเคลื่อนที่ของมวลดิน”การสัมมนาบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จัด ณ อ.วังเขียว จ.นครราชสีมา วันที่ 12 กันยายน 2553
58. “Seismic Safety Re-Evaluation of Dams in Thailand” EIT-JSCE International Joint Seminar, Imperial Queen’s Park Hotel, 7 September 2010 Organize by EIT
59. “การออกแบบกำแพงกันดิน” หลักสูตรการอบรมด้านวิศวกรรมโยธา 31 สิงหาคม 2553 ภาควิชาวิศวกรรม ทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโดย การประปานครหลวง ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
60. “การออกแบบฐานรากต้านทานแผ่นดินไหว” หลักสูตรการอบรมด้านวิศวกรรมโยธา 10 สิงหาคม 2553 ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโดย การประปานครหลวง ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
61. “การออกแบบเขื่อนเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว” สำนักออกแบบ กรมชลประทาน 9 สิงหาคม 2553
62. “Safety Re-Evaluation of Srinigarind and Vajiralongkorn Dam” 4 พฤษภาคม 2553 จัดโดย การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
63. “Landslide Mitigation in Thailand : from Research to Practices” 3 March 2010, Graduate School of Engineering Department of Urban Management, Kyoto University, Japan
64. “การออกแบบถนนที่มีการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธีต่างๆ” หลักสูตร เทคนิคการออกแบบและก่อสร้าง ถนนบนชั้นดินอ่อน ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมบางกอกกอล์ฟ สปา รีสอรท์ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี จัดโดยสำนักวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบท
65. “การออกแบบ การดาเนินการและบารุงรักษาระบบการจัดขยะมูลฝอยโดยวิธฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล” ใน วันที่ 18 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคาร วสท. จัดโดย สภาวิศวกร
66. “การสารวจ, ทดสอบ และติดตามพฤติกรรมทางวิศวกรรมปฐพี” หลักสูตร การอบรมด้านวิศวกรรมโยธา ใน วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโดย การประปานครหลวง ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
67. “วิชาชีพวิศวกรรมกับความปลอดภัยเขื่อน”, “ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่องานวิศวกรรมปฐพีและดินถล่ม-การลดผลกระทบและการแก้ไข(กรณีศึกษา)”, ระหว่างวันที่18-20 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ศูนย์การประชุม และแสดงนิทรรศการไบเทค บางนา จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.).
68. “Rehabilitation and maintenance planning of Burapawithi’s approach ramp, Bangkok- Chonburi expressway”, GCOE AIT-KU JOINT SYMPOSIUM ON HUMAN SECURITY ENGINEERING, Bangkok, Thailand, November 19-20, 2009.
69. “การก่อสร้างฐานรากอาคาบนไหล่เขา : กรณีศึกษาการก่อสร้างเจดีย์วัดเขาสุกิม” ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ณ ห้องรัชดาบอลรูม ชั้น 6 โรงแรมเอส ซี ปาร์ค จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.).
70. “การวิเคราะห์เพื่อการออกแบบเขื่อนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์” สำนักออกแบบ กรมชลประทาน วันที่ 5 ตุลาคม 2552 จัดโดย กรมชลประทาน
71. “Site Characterization of Geotechnical Projects in Thailand” การอบรมเจ้าหน้าที่ทางหลวง ประเทศบรูไน 15 กันยายน 2552 จัดโดย กรมทางหลวง
72. “Landslide Management in Thailand”, EIT-JSCE Joint International Symposium 2009- Geotechnical Infrastructure Asset Management, September 7-8, 2009, Imperial Queen’s Park Hotel.
73. “การป้องกันภัยและผลกระทบดินถล่มเชิงพื้นที่” , การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการประยุกต์ ใช้ข้อมูลภาพ ถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาด้วยระบบ DVB-S เพื่อการวิจัย ครั้งที่ 3, ในวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ณ ห้อง 0602/L1 อาคาร ชูชาติกาภู จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
74. “Risk Assessment and Analysis in Geotechnical Engineering” , ในวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
75. “งานวิศวกรรมกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม”, หลักสูตรวิศวกรรมโยธา รุ่น 2 ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2552 ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น คลองหนึ่ง อาคารหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี
76. “Landslide Hazard Mapping and Mitigation Measures in Phtong City”, Study visit: landslide risk mitigation in Phuket (Patong city experience under RECLAIM II), 24-26 June 2009, Phuket.
77. “วิธีการเจาะสำรวจดินและการแปลผลการทดสอบ การควบคุมการบดอัดดินในสนาม และการทดสอบใน ห้องปฏิบัติการ”, “เทคนิคการก่อสร้างและควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง กรณีศึกษางานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังการพิบัติเนื่องจากการขุดและถมดินในระหว่างการก่อสร้างคณุสมบัติและการเลือกใช้วัสุดงานเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง”, โครงการหลักสูตรเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานก่อสร้าง ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 6 ชั้น 3 กรมการขนส่งทางน้ำและพณิชย์นาวี กรุงเทพฯ
78. “การป้องกันภัย การเตือนภัยด้วยน้าฝนและการลดความรุนแรงจากภัยดินถล่ม” , การจัดอบรมการศึกษา ด้านวิศวกรรมดินถล่ม ในวันที่ 23 เมษายน 2552 ณ ห้อง MR211 ศูนย์แสดงสินคา้ และการประชุมนานาชาติ กรุงเทพฯ (BITEC) จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.).
79. “ความปลอดภัยเขื่อนและการบำรุงรักษา”, การฝึกอบรม แผนการบริหารและจัดการโครงการเขื่อนแควน้อย โครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก ในวนั ที่ 8 เมษายน 2552 ณ สานักงานก่อสร้าง 2 โครงการแคว น้อย จ.พิษณุโลก จัดโดย กรมชลประทาน
80. “กรณีศึกษาการออกแบบคันดินถมลาดไหล่เขาและตลิ่งแม่น้ำ”, “การทดสอบดินเพื่อการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน” ,โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน และการใช้โปรแกรม KUslope, ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม และ 1-3 เมษายน 2552 ณ ห้องกาสะลอง ชั้น 2 โรงแรมพรพิงค์ ทาวเวอร์ จ.เชียงใหม่ จัดโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
81. “เขื่อนแควน้อยกับโอกาสในการพิบัติ”, การฝึกอบรม แผนป้องกันฉุกเฉินสำหรับชุมชนและแผนฟื้นฟูหลังน้ำลด โครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแควน้อย ในวันที่ 25 มีนาคม 2552 ห้องวังธารา โรงแรมอมรินทร์ลากูน อำเภอเมือง จ.พิษณุโลก จัดโดยกรมชลประทาน
82. “ความมั่นคงของเขื่อนและแผ่นดินไหว”, การอบรมและฟังบรรยายเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และความมั่นคงของเขื่อนและแผ่นดินไหว ในวันที่ 24 มีนาคม 2552 ณ อาคารสัมมนาสิริประภา เขื่อนรัชชประภา จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
83. “การป้องกันและลดผลกระทบจากภัยดินถล่มโดยวิธีทางวิศวกรรม กรณีศึกษาเทศบาลเมืองป่าตอง จ. ภูเก็ต”, การประชุมสัมมนาสถานการณ์และการป้องกันภัยพิบัติจาดดินถล่มในประเทศไทย, ระหว่างวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2552, ณ ห้องคชสีห์-ไกรสีห์ ชั้น 2 โรงแรมสีหราช จ.อุตรดิตถ์ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
84. “การออกแบบและสร้างเขื่อนในประเทศไทย”, ในวันที่ 16 กมุ ภาพันธ์ 2552 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
85. “แผ่นดินไหวกับเขื่อน” สัมมนาเรื่อง วิกฤติเขื่อน หรือมายาคติ ณ เขื่อนศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ในวันที่ 9 มกราคม 2552 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี จัดโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
86. “ทฤษฎีปฐพีกลศาสตร์สาหรับโครงสร้างดินเสริมแรง” โครงการอบรมเรื่อง การออกแบบและก่อสร้าง โครงสร้างปฐพีโดยใช้วัสดุใยสังเคราะห์ ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2551 ณ ห้องบุษบา โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปู ถัมภ์ (ว.ส.ท.).
87. “Landslide, Where and When”, 5-8 November, 2008, Graduate School of Engineering, Department of Urban Management, Kyoto University, Japan.
88. “การประเมินพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มในประเทศไทย” การสัมมนาเรื่อง การจัดการความรู้จากงานวิจัย ของ วช.: เพื่อแก้วิกฤติน้าท่วมโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 ณ โรงแรมแม่ยมพาเลส จ.แพร่ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
89. “Landslide Risk Prioritization of Tsunami affected Area in Thailand” 3rd Regional Training Course-Asian Program for Regional Capacity Enhancement for Landslide Impact Mitigation, 27-31 October 2008, Manila, Philippines, ADPC.
90. “Landslide hazard investigaton and evaluation of Doi Tung Palace:Example of soil creep landslide”, EIT-JSCE Joing Intrnational Symposium Monitoring & Modelling in Geo-Engineering, 15-16 September, 2008, Imperial Queen’s Park Hotel Bangkok, Thailand.
91. “อุทกภัยและโคลนถล่ม” โครงการฝึกอบรมหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรเป็นนักวิชาการด้านสาธารณภัย ระดับพื้นฐาน (รุ่นที่ 2) ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 6 กันยายน 2551 ณ วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี จัดโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
92. “การพิบัติและการจัดการความเสี่ยง” และ “พารามิเตอร์และการเลือกใช้พารามิเตอร์” ในวันที่1 กรกฎาคม 2551 กรมชลประทาน
93. “การทดสอบในห้องปฏิบัติการที่จำเป็นต่อการอออกแบบและก่อสร้าง” โครงการอบรม การสารวจชั้นดิน การออกแบบและการก่อสร้างงานฐานราก ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2551 ณ ห้องบงกชรัตน์ ชั้น L โรงแรมทวินโลตสั จ.นครศรีธรรมราช จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถมั ภ์ (ว.ส.ท.).
94. “การวิเคราะห์เสถียรภาพของดิน” โครงการอบรมการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรับแรงดันด้านข้าง และเสถียรภาพของลาดดิน ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2551 ณ ห้องกาสะลอง ชั้น 2 โรงแรมพรพิงค์ ทาวเวอร์ จ. เชียงใหม่ จัดโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
95. “Studies of Rainfall-induced Landslides in Thailand”, Expert Symposium Climate Change : Modelling, Impacts & Adaptations, 17-19 November, 2007, Tropical Marine Science Institute & Department of Civil Engineering National University of Singapore.
96. “การประยุกต์ใช้ GPS&GIS ในงานวิศวกรรมปฐพี”โ ครงการอบรมเชิงวิชาการ “GPS&GISกับการประยุกต์ ในงานวิศวกรรมโยธา” และหัวข้อพิเศษ “การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตโดยคานึงถึงดสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสนิ ทร์ ร่วมกับ บริษัท ปนู ซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ระหว่างวนั ที่ 6-8 ธันวาคม 2550 ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์ พลาซ่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
97. “การออกแบบฐานราก” การฝึกอบรมหลักสูตร การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 19-30 พฤศจิกายน 2550 ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง ประตูน้ำพระอินทร์ จ. พระนครศรีอยุธยา จัดโดย กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
98. “Integration of geotechnical engineering and rainfall data into landslide hazard map in Thailand”, Geology of Thailand : Towards Sustainable Development and Sufficiency Economy, 21-22 November, 2007 , The Emerald Hotel, Bangkok, Thailand. Organize by EIT-JSCE
99. “สาเหตุและการประเมินความเสี่ยงของเขื่อนคลองมะเดื่อ” และ “การตรวจสอบสภาพเขื่อนคอนกรีตบดอัด โดยวิธี Risk Index กรณีศึกษาเขื่อนขุนด่านปราการชล” การฝึกอบรมแผนการบริหารและจัดการโครงการเขื่อนคลองมะเดื่อ ระหว่างวันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2550 ณ ศูนย์ฝึกอบรมการเกษตร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก จัดโดย กรมชลประทาน
100. “การตรวจสภาพเขื่อนเพื่อการประเมินความเสี่ยง” การอบรมด้านความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน (Dam Safety Training) “การตรวจสอบอย่างมืออาชีพ” ระหว่างวนั ที่ 5-7 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องมุกดา 1 เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
101. “แนวทางการก่อสร้างและพัฒนาในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม” การประชุมสัมมนาการป้องกันภัยพิบัติจากดินถล่มใน จ.ภูเก็ต วันที่ 26 ตุลาคม 2550 ณ โรงแรมป่าตอง จ.ภูเก็ต จัดโดยศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC)
102. “Landslide hazard mapping method in Thailand” , National Training Workshop on Landslide Risk Management (17-19 October 2007), Ridgewood Residence, Baguio City, Philippines, ADPC
103. “แผ่นดินไหวกับเขื่อน” ,“การพิบัติของเขื่อน” และ “การประเมินความเสี่ยงโดยวิธีดัชนี” โครงการอบรม ความปลอดภัยเขื่อนในสภาวะปกติและสภาวะอันตราย ระหว่างวันที่ 20-21 กันยายน 2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวชั่น จัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.).
104. “แผ่นดินไหวกับเขื่อน” และ “การพิบัติของเขื่อน” โครงการอบรมหลักสูตร เสริมสร้างทักษะหัวหน้า โครงการก่อสร้าง กรมชลประทาน ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรม กรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา
105. “การพิบัติของเขื่อน” โครงการอบรมเรื่อง ผู้ควบคุมงานก่อสร้างงานชลประทาน ระหวา่ งวันที่ 2-6 กรกฎาคม 2550 ณ โครงการก่อสร้าง เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก จัดโดย กรมชลประทาน
106. “แผ่นดินไหวกับเขื่อน” การประชุมสัมมนาเรื่อง “แผ่นดนิ ไหว : ธรณีพิบัติภัยใกล้ตัว?” วันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร. จัดโดย กรมทรัพยากรธรณี
107. “การป้องกันภัยดินถล่ม และแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม” โครงการอบรมเรื่อง ปัญหาและการป้องกันภัยจากแผ่นดินถล่ม (Landslide)” ระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรม ท็อปแลนด์ จ.พษิ ณุโลก จัดโดย บริษัท two plus soft
108. “แผ่นดินถล่ม” การประชุมวิชาการเรื่อง “ภัยพิบัติที่กำลังรุนแรงขึ้น” วันที่ 12 มิถุนายน 2550 ณ อาคาร หอประชุม ชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี จัดโดย สมาคมชลประทาน
109. “การทดสอบดินเพื่อการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน” และ “เสถียรภาพของลาดดินและการออกแบบ ถนนบนดินอ่อน, เสาเข็มดินซีเมนต์และ MSE Wall” การวิเคราะห์เสถียรภาพของดินลาด และการใช้โปรแกรม KU slope วันที่ 22-25 พฤษภาคม 2550 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัด โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
110. “การออกแบบฐานราก” การฝึกอบรมหลักสูตร “การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง ” รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-25 พฤษภาคม 2550. ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง ประตูน้ำพระอินทร์ จ.พระนครศรีอยุธยา จัดโดย กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
111. “พื้นที่เสี่ยงภัยจากการศึกษาทางธรณีวิศวกรรม” การอบรมเชิงปฏิบัติการสถานการณ์และการป้องกันภัยพิบัติจากดินถล่มใน จ.ภูเก็ต วันที่ 28 เมษายน 2550 ณ โรงแรม รอยัล พาราได๊ซ โฮเทล เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จ.ภูเก็ต จัดโดยกรมทรัพยากรธรณี และเทศบาลเมืองป่าตอง
112. “สภาพดินเหนียวอ่อนในกรุงเทพฯ และการปรับปรุงคุณภาพดินสนามบินสุวรรณภูมิ” โครงการสัมมนา เทคนิควิศวกรรมโยธาในงานก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 19-20 เมษายน 2550 ณ โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์ พลาซ่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
113. “สถานการณ์และสภาพการเกิดน้ำท่วมดิน ถล่มในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน” โครงการสัมมนาเชงิ วิชาการ มหันตภัย น้าทว่ ม ดินโคลนถล่มภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2550 ณ โรงแรม โลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่ จัดโดย ว.ส.ท. (อนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำ)
114. “วิศวกรรมโยธากับภัยพิบัติธรรมชาติ” การสัมมนาเรื่อง การจัดการดินถล่มและการแก้ไขเชิงวิศวกรรม วันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2549. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาเขตวังไกลกังวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์ ร่วมกับ บริษัท ปนู ซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ณ โรงแรมหัวหินแกรนด์โฮเทลแอนด์พลาซ่า อ.หัวหิน จ. ประจวบครีรีขันธ์
115. “การก่อสร้างเขื่อนหินถม (Rockfill Dam)” โครงการฝึกอบรมหลักสูตร กรมชลประทาน ระหว่างวันที่ 26- 27 ตุลาคม 2549. ณ สานักงานก่อสร้าง 2 (โครงการแควน้อย) อำเภอวัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก
116. “การตรวจวัดพฤติกรรมและการจัดทาฐานข้อมูล” โครงการฝึกอบรมเรื่อง การวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยการ ตรวจเขื่อน วันที่ 19-20 ตุลาคม 2549. ณ โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดาริ จ.นครนายก จัดโดย กรมชลประทาน
117. “หลักการออกแบบเขื่อนและความเสี่ยงเกี่ยวกับเขื่อน” โครงการฝึกอบรม เรื่อง การพิบัติของเขื่อน วันที่ 26-27 มิถุนายน 2549. ณ โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดาริ จ.นครนายก จัดโดย กรมชลประทาน 118. “ภัยพิบัติน้าท่วมแผ่นดินถล่มบทเรียนและแนวทางสู่การจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่เสี่ยงภัย” เสวนาวิชาการเรื่องข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ สวนป่า พื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อเป็นแนวทางป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย วันที่ 29 สิงหาคม 2549. ศูนย์ฝึกอบรมวน ศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ณ ห้องประชุม 802 ชั้น 8 อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
119. “การบริหารจัดการด้านอุทกภัยของกรมทรัพยากรน้ำ” สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สาเหตุการเกิดทุกภัย (ดิน) วันที่ 13 -15 กรกฎาคม 2549. ณ โรงแรมเวลคัม หาดจอมเทียน พัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี จัดโดย กรม ทรัพยากรน้ำ
120. “ป่าไม้กับการเกิดภิบัติภัยน้ำท่วม-ดินถล่ม” การสัมมนาเรื่อง ป่าไม้กับการเกิดน้ำท่วม-ดินถล่ม วันที่ 5 มิถุนายน 2549. ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
121. “กรณีศึกษาการวิบัติของงานวิศวกรรม” โครงการอบรมเรื่องผู้ควบคุมงานก่อสร้างงานชลประทาน วันที่ 24- 28 เมษายน 2549. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน ณ โครงการ ก่อสร้างเขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก.
122. “การปรับปรุงชั้นดิน ” การอบรมวิชาการ เรื่อง วิศวกรรมฐานรากและงานดิน เพื่อมาตรฐานงานก่อสร้าง ชุมชนวันที่ 29-30 มีนาคม 2549. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มศว.องครักษ์
123. “การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดินในประเทศไทย” โครงการอบรมสัมมนาแนวทางการพัฒนาวัสดุวิศวกรรมโยธา วันที่ 22-24 มีนาคม 2549. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรันตโกสนิ ทร์ ร่วมกับ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)
124. “การทดสอบวัสดุคัดเลือก” การอบรมการควบคุมการก่อสร้างสำหรับบุคลากรช่างท้องถิ่น วันที่ 15 และ 22 กันยายน 2548. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร
125. “การประยุกต์ใช้ MSE Wall เพื่อป้องกันการพิบัติของลาดตลิ่งริมแม่น้ำโขง” การวิเคราะห์เสถียรภาพของดินลาดและการใช้โปรแกรม KU slope วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2548. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์
126.“เครื่องมือในการทดสอบวัดค่าและบันทึกผลในห้องปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมปฐพยีุคใหม่” การทดสอบดินเพื่องานวิศวกรรมปฐพี หลักสูตรที่ 2 วันที่ 18-21 ตุลาคม 2547. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์
127. “เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมปฐพี” การทดสอบเพื่องานวิศวกรรมปฐพี หลักสูตรที่ 1 วันที่ 12- 14 พฤษภาคม 2547. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
128. “Reliability – Based Design of Slopes”, Seminar & Workshop on Geoenvironmental Engineering: Georisk & Mass Movements (23 – 24 July 2003, Bangkok Thailand) Organized by School of Civil Engineering: Asian Institute of Technology Thailand
129. “Stability Analysis and Computer Applications”, Workshop on Computer Application for Stability Checks of Slopes and Geotextile / Meshwire Products Applications, LAO Mekong Bank Protection Project, Mekong River Commission, 6 – 9 May 1997, Vientiane, Lao People’s Democratic Republic
130. “Soil/Ground Improvement and Geosynthetics in Waste Containment Structures”, International Symposium Short Course, 2003, AIT.
ผลงานวิชาการเผยแพร่สื่อสารมวลชน
หนังสือพิมพ์ภายในประเทศ จํานวน 5 ครั้ง
- วิศวกรรมปฐพีกับการป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย. TEAM GROUP NEWSLETTER, Vol.9, No.4, October-December 2018
- นักวิชาการแนะจัดเก็บกระสอบทรายหลังน้ำลดป้องกันท่อตัน. ทาง ASTV เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554.
- ตลิ่งริมเจ้าพระยาเสี่ยงพังทลาย. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 ตุลาคม 2554.
- ข้อแนะนาในการป้องกันนิคมฯ และบ้านจัดสรร. หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 24 ตุลาคม 2554.
- แผ่นดินไหว..เขื่อนแตก..ไม่ง่าย??!!! ตั้งสติรับมือ…ปลอดภัย. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 21,872 วันที่ 31 สิงหาคม 2552.
- แผ่นดินถล่ม มหันตภัยหน้าฝน รู้สิ่งเตือนภัยธรรมชาติ..หนีได้ทัน. หนังสือพิมพ์เดลินวิ ส์ ฉบับวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2547.
สื่อวิทยุ–โทรทัศน์
- ท่วมหนักรอบ 10 ปี มีแผนที่ดีแล้วหรือยัง ? [FB Live] #ActiveTalk, The Active, 30 กันยายน 2564
- แนวทางแก้ไขปรับปรุงระบบเพื่อความปลอดภัยเขื่อนและชีวิตของคนท้ายน้ำ,รายการเปิดบ้าน การเกษตร, สถานีวิทยุ มก., วันที่ 30 กันยายน 2564
- รํายกําร I AM AN ENGINEER (FB Live) โดย สภําวิศวกร
- อีกไม่นาน กรุงเทพจะจมน้ำ?, EP.14, ตอนที่ 1 12 กรกฎาคม 2564, ตอนที่ 2 16 กรกฎาคม 2564
- น้ำท่วมถล่มเจิงโจว ถึง ลอนดอน แล้ว…กรุงเทพ?รายการ EP.22, 3 สิงหาคม 2564
- มหาภัยพิบัติ 2021 โลกถึงคราววิกฤต?, EP.26, 16 สิงหาคม 2564
- ธรณีสูบ (Liquefaction), Youtube Chanel โยธาน่ารู้กับลุงพานิช, โยธาน่ารู้ EP 33, 22 มีนาคม 2564, (https://www.youtube.com/watch?v=dlKfApApRB4)
- การรับมือปัญหาดินถล่ม. KURDI News. [Facebook] 1 ตุลาคม 2563
- ย้อนรอยแผ่นดินไหวอินโด สร้างปรากฎการณ์สึนามิ ทรายเหลว สร้างความเสียหายบ้านเรือน และ ผู้เสียชีวิตจานวนมาก • นักวิชาการด้านภัยพิบัติแนะไทยต้องเตรียมแผนที่เสี่ยงภัย และกฎหมายรับมือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต • 5,000 หมู่บ้านในไทยยังเสี่ยงดินถล่ม ดอยช้างโมเดล ปลดล็อค บูรณาการกฎหมายรับมือภัยพิบัติบ่ายโมงตรงประเด็น, สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS, 19พฤศจิกายน 2561.
- ปรากฏกํารณ์ทรายเหลว บทเรียนภัยพิบัติอินโดนีเซีย. ไทยพีบีเอส NEWSROOM, สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS, 18 พฤศจิกายน 2561
- เวทีสาธารณี (Live Facebook) ดอยช้างโมเดล แก้ปัญหาดินถล่ม, ต้นแบบการแก้ปัญหาพื้นที่เสี่ยงดินถล่มขนาดใหญ่ที่เริ่มต้นจากงานวิจัยสู่การทำข้อเสนอและการตัดสินใจเชิงนโยบายที่ปลดล็อกข้อจำกัด เดินหน้าแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม, บ่ายโมงตรงประเด็น, Thai PBS, 26 ตุลาคม 2561
- บ้านดอยช้าง “ธรณีพิบัติ อุทกภัยใกล้บ้าน”. พลิกปมข่าว ThaiPBS, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 11 ตุลาคม 2561
- ชุมชนจัดการความเสี่ยงดินถล่มกับความเห็นนักวิชําการ. บ่ายโมง ตรงประเด็น , สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 9 ตุลาคม 2561
- อนาคต “เขื่อนลาว” หยุดหรือสร้างต่อ?. ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 11 กันยายน 2561
- เสนอ 10 ชาติอาเซียน ตังระบบเตือนภัย–ทําแบบจําลองเขื่อนแตก ลดความเสี่ยงภัยพิบัติ. ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 1 กันยายน 2561.
- แก้กฎหมายปลดล็อคดินถล่ม. บ่ายโมง ตรงประเด็น , สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 30 สิงหาคม 2561
- บทเรียน “เซเปียนแตก” กับมาตรฐานความปลอดภัย “เขื่อน” ในอาเซียน.ภัยพิบัติ,สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 24 สิงหาคม 2561
- ดินถล่ม อยู่ต่อ หรือ ย้ายออก?. พลิกปมข่าว, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 23 สิงหาคม 2561
- ดินถล่มและระบบเตือนภัยในประเทศไทย. คนเคาะข่าว, สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีนิวส์วัน , 13 สิงหาคม 2561
- นักวิชาการจีรัฐบาล “จัดระเบียบ” ปชช.ในพืนที่เสี่ยงดินถลม่ . ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 11 สิงหาคม 2561
- ดินถล่มน่าน ความสูญเสียที่ป้องกันได้ รายการพลิกปมข่าว, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 2 สิงหาคม 2561
- วิเคราะห์เขื่อนลาวแตก!. สัมภาษณ์โดย สุทธิชัย หยุ่น, สุทธิชัย Live, ช่อง Youtube (https://www.youtube.com/watch?v=0Y6jdkR5vTk), 31 กรกฎาคม 2561
- เสวนาด้านเทคนิคธรณี–วิศวกรรม ปฏิบัติการเจาะถ้ำหลวง ทมี ธรณี–วิศวะ ถ่ายทอดสดทาง https://www.youtube.com/watch?v=lwm4GKlA-9E&feature=youtu.be เมื่อ 26 กรกฎาคม 2561
- เปิดเบื้องหลังปฏิบัติการกู้ 13 ชีวิต. เจาะลึกข่าวร้อน, สถานีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็น24, 11-12 ก.ค. 2561
- เหตุการณ์ดินถล่ม ที่ บ้านห้วยขําบ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน. บ่ายโมงตรงประเด็น, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 7 กรกฎาคม 2561
- วิเคราะห์ทางเลือกเจาะ “ถ้ำหลวง” ลําเลียง 13 ชีวิต ออกจากถ้ำ. ThaiPBSnews, และ ทางเลือก เจาะถ้ำช่วย 13 ชีวิต. ข่าวค่ามิติใหม่ทั่วไทย, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 4 กรกฎาคม 2561. สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 4 กรกฎาคม 2561
- แผ่นดินไหวเชียงราย. ข่าวดังข้ามเวลา, สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี, เมษายน 2561.
- แนะระบายนําเขื่อนลําปาว ลดความเสี่ยงเขื่อนวิบัติ. ThaiPBSnews, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 4 สิงหาคม 2560
- “ลุ้น”เสี่ยง”แตก-ไม่แตก”…?วิกฤต”เขื่อนสกลนคร”.ตอบโจทย์,ThaiPBSnews, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 3 สิงหาคม 2560
- ความล้มเหลวระบบเตือนภัยน้ำท่วม. เจาะประเดน็ ข่าวค่า, สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7, 29 กรกฎาคม 2560
- ระบบเตือนภัยน้ำป่า – ดินถล่ม . รู้สู้ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 16 มกราคม 2560
- สถานการณ์วิกฤตน้ำท่วมในภาคใต้. รู้สู้ภัยพิบัติ, สถานีโทรทศั น์ Thai PBS, 9 มกราคม 2560
- ความตื่นตัวรับมือแผ่นดินไหวเชียงราย. รู้สู้ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 27 มิถุนายน 2559
- เตรียมรับมือดินโคลนถล่มหมู่บ้านดอยช้าง จ.เชียงราย. รู้สู้ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 19 มิถุนายน 2559
- 32.บ้านมดชนะภัยต้านแผ่นดินไหว.คนไทยไม่ทิ้งกัน, สถานีโทรทัศน์ TNN2, 23เมษายน2559
- รําลึก 2 ปี เหตุกํารณ์แผ่นดินไหว จ.เชียงราย. คนไทยไม่ทิ้งกัน , สถานีโทรทัศน์ TNN2, 16 เมษายน 2559
- เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาปากเกร็ดทรุด…บ้านพัง.ขยายข่าว, สถานีโทรทัศน์ช่องTNN24,12 เมษายน 2559
- ต้นแบบบ้านต้านแผ่นดินไหว. ข่าว 3 มิติ, สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3, 6 ธันวาคม 2558
- เครื่องจําลองแผ่นดินไหว, บ้านต้านแผ่นดินไหว และ นวัตกรรมรับมือแผ่นดินไหวดินโคลนถล่ม. รู้สู้ ภัยพิบัติ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 30 พฤศจิกายน 2558
- สารคดี FLOOD – Challenging our future. เผยแพร่ในช่อง NHK WORLD, ถ่ายทาโดย Georama TV ProductionsPRO ประเทศฝรั่งเศส ภาคภาษาอังกฤษ, 29 พฤศจิกายน 2558
- ความมั่นคงของเขื่อนเก็บน้ำในวิกฤติภัยแล้ง.ลุยข่าวร้อน, สถานีโทรทัศน์ช่อง NationTV, 22 กรกฎาคม 2558
- สาเหตุถนนเรียบคลองทรุด. ไทยรัฐนิวส์โชว์, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐออนไลน์, 11 กรกฎาคม 2558
- ถนนทรุด.. ผลพวงจากวิกฤติแล้ง. Hardcore ข่าว, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5, 9 กรกฎาคม 2558
- นักวิชาการชีบทเรียนเนปาล–เชียงรายสะท้อนการสร้างอาคารรองรับแผ่นดินไหว. ช่วงข่าว, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 28 เมษายน 2558
- รอย(100)เลื่อน?. คมชัดลึก, สถานีโทรทัศน์ Nation TV, 6 พฤษภาคม 2557.
- บทเรียนของคนชุมชนบ่อทอง. สถานีสีเขียว, สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS, 23 มิถุนายน 2556.
- ตลิ่งพัง. สถานสีเขียว, สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS, 27 มกราคม 2556.
- สาเหตุดินทรุด จ.อ่างทอง. News, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 9 กรกฎาคม 2555
- การทรุดตัวริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา จ.อ่างทอง. เช้านี้ที่หมอชติ , สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, 4 กรกฎาคม 2555
- ดินโคลนถล่ม มหันตภัยร้ายใกล้ตัว. สถานีสีเขียว, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 21 มิถุนายน 2555
- ระดับน้ำที่สูงเกินไปของเขื่อนเป็นอันตรายหรือไม่. บันทึกสีเขียว, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, 23 พฤษภาคม 2555.
- เรียนรู้เพื่อรับมือ ภัยพิบัติ…คนเคาะข่าว, สถานีโทรทัศน์ ช่อง ASTV, 17 เมษายน 2255
- ปัดผุ่นแก่งเสือเต้น. สถานีสีเขียว, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 18 มีนาคม 2555
- แผ่นดินไหวอาเจะห์ – สึนามิ. ปอกเปลือกข่าว, สถานีโทรทัศน์ ช่อง springnewstv, 11 เมษายน 2555
- นักวิชาการแนะการใช้ทรายหลังน้ำลด. สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS, 21พฤศจิกายน2554.
- สํารวจตลิ่งเจ้าพระยาพิบัติที่บางพลัด. ข่าว 3 มิติ, สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3, 28 ตุลาคม 2554.
- สํารวจแนวป้องกันตลิ่งชุมชนเขียวไข่กา. สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 27 ตุลาคม 2554.
- เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ. ปอกเปลือกข่าว, สถานีโทรทัศน์ Spring News, 25 ตุลาคม 2554.
- ปัญหาดินโคลนถล่ม.สถานสีเขียว, สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS, 6พฤษภาคม2554.
- จัดโซนนิ่งคุม…พิบัติภัย. คนหลังข่าว NEWS, สถานีโทรทัศน์ TNN 24 , 19 เมษายน 2554.
- เตือนภัยดินถล่ม. ก้าวไกลไปกับความรู้คือประทีป , สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 17 และ 24 กรกฎาคม 2553.
- กรณีแผ่นดินไหว 3.7 ริกเตอร์ ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี. ข่าวค่า ทีวีไทย, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, 14 มิถุนายน 2553
- ปริศนาหลุมลึก 60 เมตร กัวเตมาลา. เรื่องเด่นเย็นนี้ : สรยุทธ์ เจาะข่าวเด่น, สถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 3 มิถุนายน 2553
- แผ่นดินไหวกับความปลอดภัยเขื่อน, ให้สัมภาษณ์รายการวิทยุ FM 90.5, 3 ตุลาคม 2552.
- Dam Safety : Srinagarind dam. NNT News Talk, สถานีโทรทัศน์ NNT สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 14 กันยายน 2552.
- ดินถล่ม “Landslide”. ความรู้คือประทีป, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์, 27 กันยายน 2551 และ 4 ตุลาคม 2551
- วิทยากรรับเชิญรายการหนึ่งในพระราชดาริ เรื่อง “เตือนภัยดินถล่ม”. สถานีโทรทัศน์ Modern Nine TV, 3 พฤษภาคม 2551
- วิทยากรรับเชิญรายการหนึ่งในพระราชดาริ เรื่อง “ดินถล่ม…มหันตภัยฤดูฝน”. สถานีโทรทัศน์ Modern Nine TV, กรกฎาคม 2549
- พื้นที่ดินถล่ม. สถานีโทรทัศน์ Modern Nine TV, 25 มีนาคม 2549
การผลิตข้อมูลทางวิชาการเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (ปัญหาอุทกภัย 2554)
- การให้ข้อมูลกำแพงป้องกันน้ำ (Flood Wall / Dike) ผ่านทาง www.tumcivil.com
- การเขียนข้อแนะนำในการสร้างคันกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม ผ่านทาง www.gerd.eng.ku.ac.th และ www.ku.ac.th และ facebook
- การวิเคราะห์ข้อมูลแนวตลิ่งที่มคีวามเสี่ยงสูงและสงูมากต่อการพิบัติและจะส่งผลกระทบกับผู้อยู่อาศัยใน เขตริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก และประชาสัมพันธ์ผ่านทาง www.gerd.eng.ku.ac.th และทางสื่อ ต่างๆ
- การผลิตนวัตกรรมกำแพงป้องกันน้ำท่วมแบบเร่งด่วน KU Miniature Sheet pile ที่ปัจจุบันกำลังเร่ง ปรับปรุงต้นแบบ
เอกสารตีพิมพ์ในงานประชุมวิชาการและวารสารทางวิชาการ
พ.ศ. 2564 (2021) | 1. Soralump, S., Shrestha, A., Thowiwat, W. et al. (2021). Assessment of landslide behaviour in colluvium deposit at Doi Chang, Thailand Scientific Reports volume 11, Article number: 22960 (2021) 2. Sutasinee Intui, Suttisak Soralump and Shinya Inazumi (2021). Bearing Capacity Behavior of Single Pile During Groundwater Level Change by Centrifuge Model, 11th Int. Conf. on Geotechnique, Construction Materials & Environment, Kyoto, Japan, 3- 5 November 2021, ISBN: 978-4-909106063 C3051 3. Suttisak Soralump, Avishek Shrestha, Apiniti Jotisankasa, Chinoros Thongthamchart, Rattatam Isaroran (2021). Use of geosynthetic clay liner as a remedial measure of claystone degradation in Lam Ta Khong hydropower plant. Geotextiles and Geomembranes, 2021, ISSN 0266-1144 4. Suttisak Soralump and Shraddha Dhungana (2021). Appropriate technology for landslide and debris flow mitigation in Thailand. 1st International Symposium on Construction Resources for Environmentally Sustainable Technologies, Kyushu University, Fukuoka, Japan| March 9-11, 2021. |
พ.ศ. 2563 (2020) | 1. Y. Kusumahadi, S. Soralump and M. Jinagoolwipat (2020). Liquefaction Susceptibility Assessment Using Geotechnical and Geological Manners of Northern Thailand. International Journal of Geotechnical Earthquake Engineering (IJGEE), 2020, 11(2), pp. 50-71. ISSN: 1947-8488. |
พ.ศ. 2562 (2019) | 1. Shrestha, Avishek; Jotisankasa, Apiniti; Chaiprakaikeow, Susit; Pramusandi, Sony; Soralump, Suttisak; Nishimura, Satoshi (2019). Determining Shrinkage Cracks Based on the Small-Strain Shear Modulus-Suction Relationship. Geosciences 2019, 9(9), 362; https://doi.org/10.3390/geosciences9090362 2. Soralump, S., Isaroran, R. & Yangsanphu, S., Weak Plane Failure of Phyllitic Sandstone: Back Analysis for Slope Stabilization and the Use of Probabilistic Approach for Design Optimization. Geotech Geol Eng, Vol. 37, p2315–2324 (2019). https://doi.org/10.1007/s10706-018-0756-8, 10 pp 3. Suttisak Soralump, P.W. Noppadol, K. Panthi and J. Sanmuang (2019X. Cyclic drawdown of water causing the slope failure of canal and dam Conference: Asian Regional Conference on Soil Mechanics and Geotechnical Engineering At: Taipei International Convention Center (TICC), Taipei, Taiwan October 14-15, 2019 |
พ.ศ. 2561 (2018) | 1. กรวินทร์ อานุภาพภราดร, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2561. การศึกษาความเสี่ยงในเชิงวิศวกรรมและ เศรษฐศาสตร์ของกำแพงป้องกันน้ำท่วมก่อสร้างหลังปี พ.ศ. 2554. วิศวกรรมสาร มก. (Kasetsart Engineering Journal),ปีที่ 31, ฉบับที่ 103 มกราคม-มีนาคม 2561, หน้า 41-50. 2. ชิโนรส ทองธรรมชาติ และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2561. มองความพร้อมด้านความปลอดภัยเขื่อนหลัง เหตุการณ์น้ำท่วม. จากการพิบัติของเขื่อนในประเทศไทย ลาวและเมียนมาร์. GERD Journal Vol. 5, pp. 49-54. 3. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, วรวัชร์ ตอวิวัฒน์, สิริศาสตร์ ยังแสนภู และธีรไนย์ นุ้ยมาก. 2561. การสำรวจด้านธรณีวิศวกรรมและการจัดการพื้นที่ดิน ถล่ม “บ้านห้วยขาบ หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. GERD Journal Vol. 5, pp. 65-83. 4. Preechaya Kittipakawat, Suttisak Soralump, Alice Sharp, Jessada Karnjana and masahi matsuoka. 2018. Assessment of Landsilde Susceptibility Area using RS and GIS. Proceedings of the 12th GMSARN International Conference on Energy Connectivity, Environment, and Development in GMS (GMSARN 2017), 28-30 November 2017, Danang, Vietnam, 6 p. 5. Shishido, K. I., Hashida, H., Inazumi, S., & Soralump, S. (2018). Penetration behavior of chemical grouting considering ground uncertainty. International Journal of GEOMATE, 14(45), 22-27. https://doi.org/10.21660/2018.45.57186 6. รัฐธรรม อิสโรฬาร, วารุณี กะการดี, วรวัฒน์ ตอวิวัฒน์ และรศ.ดร.สุทธิศักดิ ศรลัมพ์. 2561. ร่างกฎกระทรวงการควบคุมอาคารและกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินในพื้น ที่เสี่ยงภัยดินถล่ม (LandSlide) และบริเวณลาดเชิงเขา. GERD Journal Vol. 5, pp. 95-99. 7. จิรวุฒิ แสนเมือง และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2561. การวิเคราะห์ความเค้นคู่ควบของถนนริมคลองบน ชั้นดินเหนียวอ่อนในกรณีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำคลองตามรอบฤดูกาล. ตีพิมพ์ใน การประชุม วิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23, ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 จ.นครนายก 8. วิศรุต ไชยสูรยกานต์, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว. 2561. ประสิทธิภาพการ ป้องกันการไหลผ่านรอยต่อของเสาเข็มพืดเหล็ก. ตีพิมพ์ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติ ครั้งที่ 23, ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 จ.นครนายก 9. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2561. การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้น ที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯด้วยการปรับปรุงคุณภาพดินและเทคนิค VCM, หน่วยวจิัยการออกแบบ และวิจัยด้านวิศวกรรมปฐพี ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพี และฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์, เผยแพร่เมื่อ 9 เมษายน 2561 10. Shishido, K.-I., Hashida, H., Inazumi, S., Soralump, S. 2018. Assessment of potassium silicate based surface penetration materials with low viscosity in the repair of concrete structures, International Journal of GEOMATE (ISSN: 21862982) Volume12 Issue29, February 2017, Page163-170, DOI10.21660/2017.29.160616 11. Hiroyasu OHTSU, Pipatpongsa THIRAPONG, Takafumi KITAOKA, Shunichiro ITO, Mitsuru YABE, Suttisak SORALUMP (2018). A study on characteristics of fine particle distribution at cut slope and fill slope comprising weathered granite. Journal of the Society of Materials Science, Japan, Released March 20, 2018, Vol.67 (2018), Issue 3, pp.346-353, Online ISSN : 1880-7488, Print ISSN : 0514-5163, DOI: https://doi.org/10.2472/jsms.67.346 12. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ (2018) วิศวกรรมปฐพีกับการป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย (Geotechnical Engineering and Disaster Prevention in Thailand)., TEAM GROUP Newsletter, Vol.9 No.4 (October-December 2018) |
พ.ศ. 2560 (2017) | 1. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, ธีรไนย์ นุ้ยมาก และวรวัชร์ ตอวิวัฒน์. 2560. ความถูกต้อง ของการเตือนภัยดินถล่มด้วยแบบจาลองปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ (AP-Model). GERD Journal Vol. 4 pp.37-44 2. Monapat Sasingha, Suttisak Soralump. 2017. Use of Short Piles for Stabilizing the Side Slope of the Road Embankment along the Canal. Published in : World Academy of Science, Engineering and Technology, International Journal of Geotechnical and Geological Engineering, Vol:11, No:2, 2017 3. Thapthai Chaithong, Suttisak Soralump, Damrong Pungsuwan and Daisuke Komori (2017). Assessing the Effect of Predicted Climate Change on Slope Stability in Northern Thailand: A Case of Doi Pui. International Journal of GEOMATE, 13(38), 38-48. 4. Suttisak Soralump and Thapthai Chaithong (2017). Modeling Impact of Future Climate on Stability of Slope Based on General Circulation Model. Geotechnical Engineering, Journal of the Southeast Asian Geotechnical Society, 48(1), 109-116. 5. ราเมตร์ สุขเจริญ, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2560. การศึกษาพฤติกรรมการพิบัติของลาดดินตะกอนเศษหินเชิงเขา: กรณีศึกษา หมู่บ้านดอยช้าง จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติ ครั้งที่ 22 วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2560 จ.นครราชสีมา |
พ.ศ. 2559 (2016) | 1. Suttisak Soralump, Chinoros Thongthamchart, Montri Jinagoolwipat and Apisit Boonpo. (2016). Rehabilitation of leakage and seismic damaged problem of Mae Suai Earth zone composited RCC Dam. In 19th Southeast Asian Geotechnical Conference & 2nd AGSSEA Conference. pp 135-142. Malaysia: Southeast Asian Geotechnical Society. 2. Suttisak Soralump, Montri Jingoolwipat, Chinoros Thongthamchart, and Jessada Feungaugsorm, 2016. “Performance of the dams subject to the 2014 Chaing Rai earthquakes” Sixth International Conference and Exhibition on Water Resources and Hydropower Development in Asia National Convention Centre, Vientiane, Lao PDR, 1 to 3 March 2016 3. Suman Manandhar, Takenori Hino, Suttisak Soralump and Mathew Francis (2016). Damages and causative factors of 2015 strong Nepal Earthquake and directional movements of infrastructures in the Kathmandu Basin and along the Araniko Highway. Lowland Technology International, International Association of Lowland Technology, 18(2), 141-164. 4. Suttisak Soralump and Jitrakon Prasomsri (2016). Cyclic Pore Water Pressure Generation and Stiffness Degradation in Compacted Clays. Journal of Geotechnical and Geoenvironmental Engineering, ASCE, 142(1), Article number 04015060, 13 p. |
พ.ศ. 2558 (2015) | 1. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, 2558. “การพิบัติของถนนริมคลองกรณีภัยแล้ง พ.ศ. 2558”, วิศวกรรมสาร 68 (4) หน้า 42-53 ISSN 01250523. 2. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, 2558. “บ้านทรุด บ้านร้าว บ้านล้ม จน รวย ไม่เกี่ยว”, วิศวกรรมสาร 68 (3) หน้า 43-51 ISSN 01250523. 3. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, 2558. “รายงานการสารวจทางวิศวกรรม: กรณีแผ่นดินไหวประเทศเนปาล”, วิศวกรรมสาร 68 (2) หน้า 27-36 ISSN 01250523. 4. Tidarut Jirawattanasomkul, วิทิต ปานสุข, Suttisuk Soralump, “Community’s Empowerment in Earthquake Preparedness Through Innovative Earthquake Simulators: Experience from Chiang Rai Province”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติ ครั้งที่ 20. โรงแรมเดอะซายน์ พัทยาเหนือ จ.ชลบุรี. ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพี ระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 5. Thapthai Chaithong and Suttisak Soralump. 2558. The effects of evaporation flux boundary condition on pore water pressure in hillslope. การประชุมวชิ าการวิศวกรรม โยธาแห่งชาติครั้งที่ 20. โรงแรมเดอะซายน์ พัทยาเหนือ จ.ชลบุรี. ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6. D.T. Bergado, S. Soralump, S. Duangkhaeb and G. Manuel. 2558. Ecological Mitigations Rain-Triggered Landslides Using Construction Methods with Geosynthetics. บทความรับเชิญ การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 20. โรงแรม เดอะซายน์ พัทยาเหนือ จ.ชลบุรี. ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 จัดโดย มหาวิทยาลัย เทคโนโลยพีระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 7. Suttisak Soralump. 2015. Static and seismic performance of Mae Suai dam and its remedial works. EIT-JSCE Joint International Symposium on International Human Resource Development for Disaster-Resilient Countries 2015, September 7 – 8, 2015, Bangkok, Thailand. 8. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, มนตรี จินากุลวิพัฒน์, เมฆ เมฆขาว และเอกพงษ์ แน่นอุดร. 2558. ผลกระทบ ของดินบวมตัวต่อความปลอดภยัของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์.การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 20. โรงแรมเดอะซายน์ พัทยาเหนือ จ.ชลบุรี. ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพี ระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 9. เมฆ เมฆขาว, มนตรี จินากุลวิพฒั น์ และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2558. การประเมินศักยภาพการบวม ตัวของดินถมตัวเขอื่นกรณีศึกษาเขื่อนป่าสักชลสทิธิ์.การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. โรงแรมเดอะซายน์ พัทยาเหนือ จ.ชลบุรี. ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 จัดโดย มหาวิทยาลยัเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 10. Shinya Inazumi, Cheema Soralump, Suttisak Soralump, Satoru Ohtsuka and Yoshihiro Nakagishi. “Life Cycle Assessment of Recycling of Construction Sludges in Geotechnical Engineering Fields.”Int. J. of GEOMATE, Dec., 2015, Vol. 9, No. 2 (Sl. No. 18), pp. 1553-1566, Geotech., Const. Mat. and Env., ISSN:2186-2982(P), 2186- 2990(O), Japan. 11. H. Ohtsu, H. Masuda, T. Kitaoka, K. Takahashi, M. Yabe, S. Soralump and Y. Maeda, 2015. “A Simulation of Surface Runoff and Infiltration due to Torrential Rainfall Based on Field Monitoring Results at a Slope Comprising Weathered Granite”, Geotechnical Engineering Journal of the SEAGS & AGSSEA Vol. 46(1) pp12-21. |
พ.ศ. 2554 (2014) | 1. Suttisak Soralump, Chinoros Thongthamchart, Rattatam Isaroranit, Sirisart yangsanphu, Montri Jinagoolwipat and Jessada Feungaugsorn. (2014). Impacts of 2014 Chiangrai Earthquake from Geotechnical Perspectives. In EIT-JSCE Joint International Symposium on Human Resource Development for Disaster- Resilient Countries 2014. 7 p., Thailand: EIT & DRC (Kyoto University) & JSCE & AIT. 2. Shinya Inazumi, Hsin Ming Shang, Suttisak Soralump, Yoshihiro Nakagishi, Yoshio Miyatani, Yuji Mori and Yu Okuno. 2014. “Effect of the Molar Ratio of Liquid Glass Grouting Agents on Mechanical Characteristics of the Solidified Soils”. International Journal of Geotmate, Volume 7, Number 1, Serial 13, September 2014, P 985-992. 3. Yoshiyuki Yokoo, Chaiwut Wattanakarn, Supinda Wattanakarn, Vorapod Semcharoen, Kamol Promasakha na Sakolnakhon and Suttisak Soralump, 2014. “Storage under the 2011 Chao Phraya River flood: An interpretation of watershed- scale storage changes at two neighboring mountainous watersheds in northern Thailand”. Hydrological Research Letters 8(1), 1–8 (2014), Published online in J- STAGE (www.jstage.jst.go.jp/browse/hrl). doi: 10.3178/hrl.8.1. 4. Thapthai Chaithong and Suttisuk Soralump, 2014. The Potential Impacts of Climate Change on Landslide Triggering. EIT-JSCE Joint International Symposium on International Human Resource Development for Disaster-Resilient Countries 2014 5. Suttisak Soralump. (2014). Mitigation of Multi-Hazard in Lower Chao Phya River Basin. In 9th International Symposium on Lowland Technology. pp 416-472. Japan: International Association of Lowland Technology (IALT). |
พ.ศ. 2556 (2013) | 1. Suttisak Soralump. 2013. “Multi-way landslide and debris flow warning for resilience and sustainable community”. Proceeding of theInternational Symposium Hanoi Geoengineering 2013. Octorber 17-19, 2013. Hanoi, Vietnam. 2. Jaikaeo C., Phonphoem A., Jansang A., Tiwatthanont P., Tangtrongpaijoj W., Soralump S. and Torwiwat W., 2013. “Landslide Monitoring and Assessment System using Low-Cost Wireless Communication”. The Sixth Conference of The Asia Pacific Association of Hydrology and Water Resourecs. “Climate Change and Water Security – APHW 2013”. August 19-21, 2013. Hana square, Korea University, Seoul, Korea. 3. Chusak Kererat, Inthuorn Sasanakul and Suttisak Soralump (2013) Centrifuge Modeling of LNAPL Infiltration in Granular Soil with Containment. Journal of Geotechnical and Geoenvironmental Engineering, ASCE, 139(6), 892-902. 4. Kererat, C., Suttisuk Soralump, Sasanakul, I., “Centrifuge simulation of LNAPL transportation in sand deposits with containment under flow and no-flow conditions”, Science Asia 39 (5) (2013) 527 -534. 5. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. “วิศวกรรมปฐพีกับธรณีภัย”. บทความรับเชิญ การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 6. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ สูรย์ พฒั นาประทีป . 2556. “คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินที่ผุพังมาจากหินแกรนิตยุคครีเตเชียสในประเทศไทยสำหรับการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินโอกาสในการเกิดดินถล่ม (Engineering Properties of Residual Soil of Cretaceous Granite in Thailand for Landslide Hazard Assessment Modelling)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลยัเชียงใหม่ 7. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, สิริศาสตร์ ยังแสนภู และมนตรี จินากุลวิพฒั น์. 2556. “การศึกษารูปแบบการ พิบัติและแนวทางการออกแบบเสริมเสถียรภาพของลาดหิน กรณีศึกษาแนวรางรถไฟสาย ตะวันออก ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ จังหวัดชลบุรี (The Study of Rock Slope Failure and Design Approach for Improving the Rock Slope Stability: A Case Study of Eastern Railway, Chachoengsao-Suttahip Port Junction, Chonburi Province)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแหง่ชาติครั้งที่18. โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และวรวัชร์ ตอวิวัฒน์. 2556. “แบบจำลองการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่มแบบพลวัติ (Dynamics Landslide Susceptibility Model)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรม โยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัด โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และธีรไนย์ นุ้ยมาก. 2556. “การประเมินเกณฑ์ปริมาณน้ำฝนเชิงสถิติสำหรับเตือนภัยดินถล่ม (Estimation of Statistical Critical Rainfall Envelope for Landslide Warning)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 10. วารุณี กะการดี, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, และรัฐธรรม อิสโรฬาร. 2556. “การศึกษาความเหมาะสม ของการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดงานขุดโดยเปรียบเทียบวิธีสมดุลจำกัด, ไฟไนต์อิลิเมนต์ และ สมดุลจำกัดร่วมกับการพิจารณาหน่วยแรงในมวลดิน (Study of Slope Stability Analysis by Comparing the Limit Equilibrium, Finite Element and Stress Based Method)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ 11. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, สมประสงค์ มีศิริ, บรรพต กุลสุวรรณ และรัฐธรรม อิสโรฬาร. 2556. การศึกษาพฤติกรรมความชื้นของดินใต้หญ้ารูซี่เพื่อประเมินเสถียรภาพของลาดดิน (Studying Water Content Behavior of Soil under Ruzi Grass for the Stability of Soil Sloped Cvaluation). การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12. Suttisak Soralump and Jessada Feungaugsorn. 2556. “Probabilistic Analysis of Liquefaction Potential: the First Eyewitness Case in Thailand”. การประชุมวิช าการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหวา่ งวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13. Suttisak Soralump, Jitrakon Prasomsri and Buncharee Kumma. 2556. “Comparison of Geophysical Shear-Wave Velocity Methods in Earth and Rock-Fill Dam”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 14. คมจักร กลิ่นภักดี และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. “การประยุกต์ใช้ Pressure Sensor ติดตามผลการทดสอบการไหลซึมในชั้นหินฐานราก (Pressure Sensor Application to Monitoring Flow Test Result in Rock Foundation)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรง แรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 15. ทิพย์วิมล แตะกระโทก และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. “การวิเคราะห์ความดันน้ำในระหว่างการก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว (The Analysis of Water Pressures during Construction Stage on Central Clay Core Rock-Fill Dams)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 16. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, ชิโนรส ทองธรรมชาติ และอภิสิทธิ์ บุญโพธิ์. 2556. “พฤติกรรมของเขื่อนแควน้อยหลังการเก็บน้ำช่วงแรก (The Behavior of Khwae Noi Dam after Impounding and Operation)”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 17. Nunthanis Wongvatana and Suttisak Soralump, 2556. “Probabilistic Approach for Dam Safety Evaluation of Mae Mao Hydropower Project”. การประชุมวิชาการวิศวกรรม โยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัด โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 18. ชาญวิทย์ น้อยโฮม และสทุ ธิศักดิ์ ศรลัมพ.์ 2556. วิธีการและขั้นตอนการออกแบบฐานรากตื้นบน ชั้นหินฐานราก (Design of Shallow Foundation on Rock Mass : Methodology and Process).การประชุมวิชาการวศิวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่18.โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19. รัฐธรรม อิสโรฬาร, วรวัชลิ้มพันธ์อุดม, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และภรัณยวัฒน์ แสงสุวรรณ. 2556. การสำรวจและออกแบบความมั่นคงและการซึมน้ำของบ่อผลิตก๊าซชีวภาพ (Investigation and Design for the Stability and Seepage of Biogas Pond). การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลยัเชียงใหม่ 20. วรสิทธิ์ กิจกิตติกร และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2556. การประเมินความน่าจะเป็นของความเสียหาย จากระบบกำแพงกันดินแบบเข็มพืดค้ำยันในงานขุดเพื่อใช้ในธุรกิจประกันภัย(Evaluation of Damage Probability from Sheet Pile-Braced Cut System for Insurance Business). การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดยมหาวิทยาลยัเชียงใหม่ |
พ.ศ. 2555 (2012) | 1. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, ชัยวัฒน์ ขยนั การนาวี, กฤษดา ประเสริฐสิทธิ์. 2555. “การออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”. งานประชุมวิชาการวิศวกรรมแห่งชาติ 12‐15 ก.ค. 2555, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2. Suttisak Soralump. 2012. “Engineering Propertiesw of Residual Soil : Necessity for Rainfall-Triggered Landslide Warning in Thailand”, 12th Regional Congress on Geology, Mineral and Energy Resources of Southeast Asia “Geoscience Response to the Changing Earth (GEOSEA2012)”, 7-8 March 2012, Centara Grand at Central Plaza Ladprao, Bangkok, Thailand. 3. Apiniti Jotisankasa, Warakorn Mairaing, Suttisuk Soralump, “Some applications of unsaturated soil mechanics in Thailand: an appropriate technology approach”, Geotechnical Engineering Journal of the SEAGS & AGSSEA 43 (1) (2012) 1 -11 4. อรรถพล แตระกุล, อภินิติ โชติสังกาศ, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และจิรโรจน์ ศุกลรัตน์, “พฤติกรรม แรงดันน้าช่องว่างดิน และปริมาณน้าฝน กรณีศึกษา ลาดดนิ คันทางเสริมแรงทางหลวงหมายเลข 1095 จังหวัดแม่ฮ่องสอน”, การประชุมวชิ าการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 (2012) 5. Warakorn Mairaing, Apiniti Jotisankasa, Suttisuk Soralump, “Some applications of unsaturated soil mechanics in Thailand: an appropriate technology approach.”, 5th Asia-Pacific Conference on Unsaturated Soils 2012 (2012) 6. Apiniti Jotisankasa, Auckpath Sawangsuriya, Patipat Booncharoenpanich and Suttisuk Soralump, “Influence of kaolin mixture on unsaturated shear strength of decomposed granitic silty sand.”, Unsaturated Soils: Research and Applications. Proc. 2nd European Conference on Unsaturated Soils, E–UNSAT 2012 (2012) 7. J.S.M. Fowze, D.T. Bergado, S. Soralump, P. Voottipreux, and M. Dechasakulsom. 2012. Rain-triggered landslide hazards and mitigation measures in Thailand: From research to practice. Geotextiles and Geomembranes 30 (2012) 50-64. |
พ.ศ. 2554 (2011) | 1. Suttisak Soralump. 2011. “2011 Disastrous Landslides at Khao Panom, Krabi, Thailand”. EIT-Japan Symposium 2011 on Human Security Engineering. 29-31 August 2011, Imperial Queen’s Park Hotel. Bangkok, Thailand. 2. Suttisak Soralump, Damrong Pungsuwan, Mananya Chantasorn, Nuttawuth Inmala and NM. S. I. Alambepola. (2011). Landslide Risk Management of Patong City, Phuket, Thailand. Soil Mechanics and Geotechnical Engineering: Challenges and Solutions. In The 14th Asian Regional Conference on Soil Mechanics and Geotechnical Engineering (14ARC). 6 p., Hong Kong: The Hong Kong Geotechnical Society. |
พ.ศ. 2553 (2010) | 1. Suttisak Soralump, Rattatam Isaroranit, Bunpoat Kulsuwan & Sirisart Yangsanphu. 2010. “Weak Plane Failure of Philitic Sandstone: Slope Stabilization of the Access Road of Mae Mao Dam”, International Conference on Slope 2010, Geotechnique and Geosynthetics for Slopes. 27-30 July 2010, Shangri-La Hotel, Chiang Mai, Thailand, Organize by Department of Highways Ministry of Transport, Thailand. 2. Suttisak Soralump. 2010. “Corporative of Geotechnical Approach for Landslide Susceptibility Mapping in Thailand”, International Conference on Slope 2010, Geotechnique and Geosynthetics for Slopes. 27-30 July 2010, Shangri-La Hotel, Chiang Mai, Thailand, Organize by Department of Highways Ministry of Transport, Thailand. 3. Suttisak Soralump. 2010. “Geotechnical Approach for the Warning of Rainfall- Triggered Landslide in Thailand Considering Antecedence Rainfall Data”, International Conference on Slope 2010, Geotechnique and Geosynthetics for Slopes. 27-30 July 2010, Shangri-La Hotel, Chiang Mai, Thailand, Organize by Department of Highways Ministry of Transport, Thailand. 4. Suttisak Soralump, Dumrong Pungsuwang, Mananya Chantasorn, Nattawuth Inmala & N.M.S.I. Alambepola. 2010. “Landslide Risk Management of Patong City: Demonstration of Geotechnical Engineering Approach”, International Conference on Slope 2010, Geotechnique and Geosynthetics for Slopes. 27-30 July 2010, Shangri-La Hotel, Chiang Mai, Thailand, Organize by Department of Highways Ministry of Transport, Thailand. 5. Jotisankasa, A., Tapparnich, J., Booncharoenpanich, P., Hunsachainan, N. & Soralump, S., 2010. “Unsaturated Soil Testing for Slope Studies”, International Conference on Slope 2010, Geotechnique and Geosynthetics for Slopes. 27-30 July 2010, Shangri-La Hotel, Chiang Mai, Thailand, Organize by Department of Highways Ministry of Transport, Thailand. 6. รัฐธรรม อิสโรฬาร, วรวัชร ลิ้มพันธ์อุดม และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2553. “การตรวจสอบและ ประเมินสภาพโครงสร้างทางพิเศษบูรพาวิถีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการทรุดตัวต่างกันของฐานราก”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวนั ที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปู ถัมภ์ 7. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, รัฐธรรม อิสโรฬาร, บารเมศ วรรธนะภูติ และ กฤษณ์ เสาเวียง. 2553. “Rehavilitation and maintenance planning of Burapawithi’s approach ramp, Bangkok-Chonburi expressway”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ. อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 8. ชิโนรส ทองธรรมชาติ และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2553. “ความมั่นคงของลาดชันจากการเคลื่อนของ รอยเลื่อนใต้ฐานรากเขื่อน กรณีศึกษาเขื่อนศรีนครินทร์”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวนั ที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอน เวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 9. Chinoros Thongthamchart and Suttisak Soralump. 2553. “KU Permea-Oedometer for Investigaing Elastic Modulus of Cushion Material in Concrete Faced Rockfill Dam”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัด โดย คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั อุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระ บรมราชูปถัมภ์ 10. ดารงค์ ปึ้งสุวรรณ, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, มนันยา จัทรทศร และณัฐวุธ อินมาลา. 2553. “การบริหาร จัดการภัยดินถล่มโดยวิธีทางธรณีวิศวกรรมในพื้นที่เทศบาลเมือง ต.ป่าตอง”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11. มนตรี จินากลุ วิพัฒน์, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ และ สมชาย ประยงค์พันธ์. 2553. “แบบจำลอง พฤติกรรมการทรุดตัวสำหรับเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีต : กรณีศึกษาเขื่อนวชิราลงกรณ”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวนั ที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชนั่ เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 12. ณัฐวุธ อินมาลา และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2553. “ระบบการตรวจสภาพเขื่อนคอนกรีตบดอัดโดย สายตาโดยวิธดีัชนีความเสี่ยงเพื่อประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยของเขื่อนขุดด่านปราการชล”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 13. ณัฐวุธ อินมาลา, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2553. “การวิเคราะห์ความปลอดภัยของเขื่อนคอนกรีตบดอัด โดยจาลองการไหลซึมผา่ นตวั เขื่อน กรณีศึกษา : เขื่อนขุนด่านปราการชล”. การประชุมวชิ าการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15. สุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซน็ เตอร์ อุบลราชธานี. ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553. จัดโดย มหาวิทยาลัยอบุ ลราชธานี. 14. อานาจ ยานุวิริยะกุล และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2553. “อิทธิพลความหนาของชั้นดินกรุงเทพฯ ต่อพฤติกรรมการตอบสนองเนื่องจากแรงกระทำแผ่นดินไหว”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวนั ที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอน เวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปูถัมภ์ 15. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ วรวัชร์ ตอวิวัฒน์. 2553. “พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงกำลังรับแรงเฉือน ตามความชื้นของดินที่ผุสลายอยู่กับที่ของกลุ่มหินที่มีความอ่อนไหวต่อดินถล่มในประเทศไทย”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวนั ที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 16. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ , ภุชงค์ สุวรรณปากแพรก และมนตรี เจียมจุฬาลักษณ.์ 2553. “การควบคุม การบดอัดวัสดุหินถมเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีต : กรณีศึกษาเขื่อนแควน้อย”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาตคิ รั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 17. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และภุชงค์ สุวรรณปากแพรก. 2553. “ความปลอดภัยของเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีตเมื่อน้ำหลากผ่านตัวเขื่อนขณะก่อสร้าง กรณีศึกษาเขื่อนแควน้อย”, การประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 18. ภุชงค์ สุวรรณปากแพรก, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2552. “พฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของเขื่อนหินถมดาด หน้าคอนกรีตจากการวิเคราะห์เครื่องมือวัดพฤติกรรมระหว่างการก่อสร้างและเก็บนา้ ครั้งแรก : กรณีศึกษาเขื่อนแควน้อย”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15. สุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี. ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553. จัดโดย มหาวิทยาลยัอุบลราชธานี 19. วารุณีกะการดีและสทุธิศักดิ์ศรลัมพ์.2553.”การศึกษาเสถียรภาพของลาดบ่อบุดดินระดับลึก ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบวิธีสมดุลจากัดและวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 20. อภิสิทธิ์ บุญโพธิ์, สทุ ธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ ชิโนรส ทองธรรมชาติ, องอาจ นวลปลอด, และภทั ราภรณ์ เมฆพฤกษาวงศ์. 2553. “การประเมินความเสี่ยงเพื่อจัดทาแผนป้องกันภัยฉุกเฉินจากเขื่อนแตก โครงการเขื่อนแควน้อยบารุงแดน จ.พิษณุโลก”, การประชุมวชิ าการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.อุบลราชธานี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 21. C. Kerarat and S. Soralump. 2010 “Modeling of Organic Contaminant Migration through Soil Cement Barrier Using TMVOC” The 17th Southeast Asian Geotechnical Conference (Geo-engineering for Natural Hazard Mitigation and Sustainable Development), Proceedings Vol. I (Theme Sessions), May 10~13, 2010, Taipei, Taiwan.Organized by Southeast Asian Geotechnical Society (SEAGS), Taiwan Geotechnical Society (TGS) 22. Suttisak Soralump. (2010). Rainfall-Triggered Landslide: from research to mitigation practice in Thailand. Geotechnical Engineering. Journal of the Southeast Asian Geotechnical Society, 41(1), 6p. 23. Hiroyasu OHTSU, Yohei HOTTA, Suttisak SORALUMP andTomonari NIIMURA, 2010. A Study on Moisture Infiltration of Subsoil in a Slope due to Tropical Rainfall. Journal of the Society of Materials Science, Japan 24. Vol. 59 (2010) No. 3 PP 192-198, Mar. 2010 25. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, บรรพต กุลสุวรรณ, วรากร ไม้เรียง และ อดิชาติ สุรินทร์คา. 2553. “การพัฒนาฐานข้อมูลดินทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน : กรณีศึกษาพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ” โยธาสาร ฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 26. วรากร ไม้เรียง, หรรษา วัฒนานุกิจ, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ อภินิติ โชติสังกาศ. 2553. “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและงานวิศวกรรมเชิงลาด” วิศวกรรมสาร ปีที่ 63 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2553. |
พ.ศ. 2552 (2009) | 1. Suttisak SORALUMP, Rattatam ISARORANIT, Barames VARDHANABHUTI and Krit SAOWIANG. 2009. Rehabilitation and maintenance planning of Burapawithi’s approach ramp, Bangkok-Chonburi expressway. GCOE AIT-KU JOINT SYMPOSIUM ON HUMAN SECURITY ENGINEERING, November 19-20, 2009, AIT Bangkok, Thailand. 2. สุทธิศักดิ์ศรลัมพ์. 2552.“การก่อสร้างฐานรากอาคารบนไหล่เขา:กรณีศึกษาการก่อสร้างเจดีย์ วัดเขาสุกิม”. การสัมมนาทางวิชาการและการแสดงนิทรรศการเรื่องวิศวกรรมปฐพีและฐานราก’52, ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรม เอส ซี ปาร์ค กรุงเทพฯ. จัดโดย คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. pp. 193-215. 3. S. Soralump, C. Thongthamchart and V. Chaisakaew., 2009. 30 Years Instrumentation Behavior of Srinagarind Dam and Analysis of Warning Criteria. 2nd International Conference Long Term Behaviour of Dams (LTBD09), 12th-13th October 2009, Graz, Austria., pp. 899-904. 4. H. Ohtsu, T. Niimura, Y. Hotta, K. Takahashi and S. Soralump., 2009. “A Study on the Monitoring and Prediction Method of Soil Moisture Characteristics at an Unsaturated Slope” EIT-JSCE Joint International Symposium 2009 Geotechnical Infrastructure Asset Management , Imperial Queen’s Park Hotel, September 7-8, 2009. 5. Chinoros Thongthamachart and Suttisak Soralump., 2009. “KU-Permea- Oedometer for investigation elastic modulus of granular soil in Rockfill dam” EIT- JSCE Joint International Symposium 2009 Geotechnical Infrastructure Asset Management , Imperial Queen’s Park Hotel, September 7-8, 2009. 6. Prompong Leesirichareong and Suttisak Soralump., 2009. “Spatial data analysis by using geostatistics evaluate the undrained shear strength of soft Bangkok clay” EIT-JSCE Joint International Symposium 2009 Geotechnical Infrastructure Asset Management , Imperial Queen’s Park Hotel, September 7-8, 2009. 7. Suttisak Soralump, Amnarj Yanuviriyakul and Baunpoat Kulsuwan., 2009. “Response behaviors of soft Bangkok clay from earthquake” EIT-JSCE Joint International Symposium 2009 Geotechnical Infrastructure Asset Management , Imperial Queen’s Park Hotel, September 7-8, 2009. 8. Chusak Kererat and Suttisak Soralump., 2009. “A study of LNAPL migration through soil cement barrier with and without flow condition” EIT-JSCE Joint International Symposium 2009 Geotechnical Infrastructure Asset Management , Imperial Queen’s Park Hotel, September 7-8, 2009. 9. Tipwimol Trekratokand and Suttisak Soralump., 2009. “The importance of Soil parameters on Newmark’s deformations of rockfill dam based on mobilized shear induced by earthquakes” EIT-JSCE Joint International Symposium 2009 Geotechnical Infrastructure Asset Management , Imperial Queen’s Park Hotel, September 7-8, 2009. 10. S. Soralump and K. Tansupo., 2009. Safety analyses of Srinagarind dam induced by earthquakes using dynamic response analysis method. International Conference on Performance-Based Design in Earthquake Geotechnical Engineering “from case history to practice” on 15-18 June 2009, Tsukuba International Congress Center JAPAN. organize by Japanese Geotechnical Society. 11. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ เกรียงไกร แทนสุโพธิ์. 2552. “การวิเคราะห์พฤติกรรมการตอบสนองทาง พลศาสตร์ของเขื่อนศรีนครินทร์ต่อแรงกระทำแผ่นดิน ไหว”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 14. สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2552 12. วรวัชร์ ตอวิวัฒน์ และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2552. “แบบจำลองเพื่อการประเมินค่า API วิกฤติ สำหรับการเตือนภัยดินถล่ม”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 14. สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2552 13. อำนาจ ยานุวิริยะกุล และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2552. “พฤติกรรมการตอบสนองของชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ เชิงพื้นที่เนื่องจากแรงกระทำแผ่นดินไหว”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 14. สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2552 14. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และวรวัชร์ ตอวิวัฒน์. 2552. “พฤติกรรมการรับแรงเฉือนเมื่อความชื้น เปลี่ยนแปลงไปของดินที่ผุสลายอยู่กับที่ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการเตือนภัยดินถล่มและการออกแบบทางธรณีวิศวกรรม”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 14. สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2552 |
พ.ศ. 2551 (2008) | 1. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, วิสุทธิ์ โชติกเสถียร, ปรีชา สายทอง, บรรพต กุลสุวรรณ และมนันยา จันทศร. 2551. “การประเมินสถานการณ์ดินถล่มและแนวทางการป้องกันเชิงวิศวกรรมในพ้ืนท่ีโครงการ พัฒนาดอยตุง”, การประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1. ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2551 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ. 2. พร้อมพงศ์ ลี้ศิริเจริญ และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2551. “การประเมินค่าทางสถิติของคุณสมบัติดินเพื่อหาอัตราส่วนความปลอดภัยสำหรับงานวิศวกรรมธรณีฐานรากในชั้นดินอ่อน กรุงเทพมหานคร”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พทั ยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 3. บัญชรี คามา และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ.์ 2551. “การจัดลาดับความเสี่ยงของเขื่อนในประเทศไทย ต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหว (Earthquake risk ranking of dams in Thailand)”, การประชุม วิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บชี พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 4. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ ธวัชชัย ปันสุข และ ชิโนรส ทองธรรมชาติ. 2551. “การตรวจสภาพเขื่อนดินโดยวิธีดัชนีความเสี่ยง”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียนปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 5. วีรพงษ์ ขวัญเซ่ง, ก่อโชค จันทวรางกูร และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2551. “การควบคุมงานตอกเสาเข็มตามหลักสมดุลพลังงาน”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บชี พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 6. สยาม ยิ้มศิริ, ศิริศักดิ์ จินดาพล, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ อภินิติ โชติสงั กาศ. 2551. “การวิเคราะห์เสถียรภาพคันดินทางรถไฟที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์และปูนขาวโดยใช้วิธีไฟไนต์ อิลิเมนต์”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 7. กนกวรรณ ศรสูงเนิน และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2551. “การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อน กรุงเทพฯ ด้วยความร้อน โดยการทดสอบแบบจำลองขนาดใหญ่” , การประชุมวิชาการวิศวกรรม โยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 8. อภินิติ โชติสังกาศ และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2551. “การตรวจวัดพฤติกรรมการเคลื่อนตัวของลาดบริเวณโครงการพัฒนาดอยตุง”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรม จอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 9. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, ศิริชัย แก้วกิติคุณ และ เสวก จีนโต. 2551. “การประยุกต์ใช้ระบบ GIS ใน การวิเคราะห์ข้อมูลการก่อสร้างฐานรากเสาเข็มเจดีย์บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี วัดเขาสุกิม จ. จันทบุรี”, การประชุมวิชาการวศิ วกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 10. กนกวรรณ ศรสูงเนิน และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2551. “การเตรียมตัวอย่างดินเหนียวอ่อน กรุงเทพฯโดยแบบจาลองการอัดตัวคายน้ำขนาดใหญ่”,การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 11. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ รัฐธรรม อิสโรฬาร และ บรรพต กุลสุวรรณ. 2551. “การวิเคราะห์พื้นที่ โอกาสเกิดดินถล่มสำหรับหินกลุ่มไดโอไรท์ ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ”, การประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13. โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2551 12. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ นายศิริชัย แก้วกิตติคุณ, นายเสวก จีนโต. 2551. “ปัญหาเสาเข็มตอกบน ฐานรากหินแกรนิตและการประเมินความเสี่ยงโดยระบบ GIS” , บทความโยธาสาร ระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2551 |
พ.ศ. 2550 (2007) | 1. Suttisak Soralump. 2007. “Mitigation of Landslide Hazard in Thailand” Expert Symposium on Climate Change : Modelling, Impacts & Adaptations Singapore , December 17-19, 2007 2. Suttisak Soralump. 2007. Development of Landslide Hazard Mapping in Thailand.National Training Course on Landslide Risk Managemet Ridgewood Residence, Banguio City, Philippines, October 17-19, 2007 3. Suttisak Soralump. 2007. “Corporation of geotechnical engineering data for landslide hazard map in Thailand ” EIT-JSCE Joint Seminar on Rock Engineering 2007 Imperial Queen’s Park Hotel, September 17, 2007 4. ประเทือง กันธสมาส และ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ.์ 2550. “การวิเคราะห์แผนที่ความสูงสูงสุดของคันทางใน จ.ปทุมธานี”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 12. โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2550 5. สมศักดิ์ เลิศประเสริฐพันธ์ และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2550. “การปรับปรุงฐานรากดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ในสนามโดยความร้อนจากพลงังานแสงอาทิตย์”,การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 12. โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2550 6. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ นายบรรพต กุลสุวรรณ และนายวรวัชร์ ตอวิวัฒน์ .2550. “การวิเคราะห์ค่า API วิกฤตเพื่อใช้ในการเตือนภัยดินถล่มจากฝนตกหนัก”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติครั้งที่ 12. โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2550 7. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ,์ วรวัชร ตอวิวัฒน์ และวรากร ไม้เรียง. 2550. “การทดสอบกาลังรับแรง เฉือนของดินเพื่อสนับสนุนการเตือนภัยดินถล่มจากฝนตกหนัก”, การประชุมวิชาการวิศวกรรม โยธาแห่งชาติครั้งที่ 12. โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2550 |
พ.ศ. 2549 (2006) | 1. Suttisak Soralump and Banpoat Kulsuwan., 2006. “Landslide Risk Prioritization of Tsunami Affected Area in Thailand” , Regional Symposium on Infrastructure Development in Civil Engineering, Joint Workshop 6-9 December 2006, Manila Philippines. 2. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2006. “การจัดลำดับพื้นที่เสี่ยงภัยดินในพื้นที่ 6 จ. ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ , EIT-JAPAN-AIT Joint Workshop Wednesday 27 September 2006, Phuket, Thailand 3. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2549. “เขื่อนดินกับแผ่นดินไหว ตอนที่ 1” . บทความโยธาสาร ระหว่างเดือน มกราคม- กุมภาพันธ์ 2549 ศิริศักดิ์ จินดาพล, สยาม ยิ้มศิริ, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และสัญชัย มิตรเอม. 2551. การปรับปรุง คุณภาพของดินในสภาพแช่น้ำด้วยการใช้ปูนซีเมนต์และปูนขาว (Cement and Lime Stabilization of Soil in Submerged Condition), การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ณ เมอร์ลิน บีช รีสอร์ท ป่าตอง จ.ภูเก็ต, 20-22 เมษายน 2549. |
พ.ศ. 2548 (2005) | 1. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ วรากร ไม้เรียง. 2005. “การวิเคราะห์ความเสี่ยงของเขื่อนในประเทศ ไทย” Geo- Risk Engineering & Management , EIT-JAPAN-AIT Joint Workshop Tuesday 27 September 2005, Bangkok, Thailand 2. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2548. “การวิเคราะห์ความเสี่ยงของเขื่อนในประเทศไทย” บทความในการสัมมนาวิชาการเรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน จัดโดย บริษัท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย จากัด (มหาชน) ณ เขื่อนสิริกิติ์ จ. อุตรดิตถ์. ระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2548 3. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2548. “การแพร่กระจายของชั้นดินเหนียวเพื่อเป็นแหล่งฝังกลบขยะป้องกันการปนเปื้อนสู่แอ่งน้ำบาดาล” บทความในการสัมมนาวิชาการเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรน้ำบาดาลและความกา้ วหน้าโครงการ จัดโดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ณ ชลพฤกษ์ รี สอร์ท จ.นครนายก ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2548. 4. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2548. “การปรับปรุงรากฐานดิน เหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยความร้อนจาก พลังงานแสงอาทิตย์” บทความในการสัมมนาวิชาการเรื่องการสัมมนางานวิจัยเพื่อการพัฒนาทาง หลวง (ระลึกถึง ดร.ธีระชาติ รื่นไกรฤกษ์) โดยกรมทางหลวง. ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2548 หน้า 187-192. 5. Abuel-Naga, H.M. , Bergado,D.T. , Soralump , S., and Rujivipat,P., 2005, Thermal Consolidation of Soft Bangkok Clay , International Journal of Lowland Technology. June 2005 ,Volume 17 ,Number 1. 6. Suttisak Soralump and D.T. Bergado., 2005. “Thermal Stabilization of Bangkok Clay” First AIT-RTG Joint – Research Public Seminar , AIT Conference Center , Asian Institute of Technology 8 August 2005 , Bangkok, Thailand. 7. Glen A.Lorenzo ,Dennes T .Bergado, and Suttisak Soralump., 2005. “New and Economical Mixing Method of Cement – Admixed Clay for DMM Application” Geotechnical Testing Journal , Volume 29 , Number 1 , 2005. |
พ.ศ. 2547 (2004) | 1. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และ วิชาญ ภู่พัฒน์. 2547. “พฤติกรรมการทรุดตัวระยะยาวของถนนบนดิน อ่อนและแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมโดยการปรับปรุงฐานรากด้วยความร้อน”. บทความในการสัมมนาวิชาการ เรื่องการปรับปรุงคุณภาพดินและการใช้วัสดุเสริมแรงชนิดใยสังเคราะห์ ครั้งที่ 5. จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2547 ณ โรงแรมทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ. 2. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2547. “ความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงของเขื่อน”. บทความในงาน สัปดาห์วิศวกรรมแห่งชาติ 2547. ณ ศูนย์ประชุมไบเทค, 29 กันยายน 254. 3. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2547. “การวิเคราะห์ความเสี่ยงของเขื่อน”. บทความในการอบรมทาง วิชาการ ครั้งที่ 10 เรื่องการตรวจสภาพและบารุงรักษาเขื่อนด้วยระบบดัชนีสภาพ (Dam Inspection and Maintenance by Condition Index System). ณ ศูนย์ฝึกอบรมการเกษตร โครงการเขื่อนคลองท่าด่านฯ จ.นครนายก, 16 กันยายน 254. 4. S. Soralump., 2004. “Geotechnical Engineering Problems and Tentative Solutions in Thailand” Proceeding of Young Geotechnical Engineering Conference, Taipei, Taiwan, 2004. |
พ.ศ. 2546 (2003) | 1. D.T. Bergado and S. Soralump., 2003. “Geosynthetics for Erosion Control and Preservation of Environment”International Symposium and Short Course on Soil/Ground Improvement and Geosynthetics in Waste Containment Structures, 2003, AIT, Thailand. |
พ.ศ. 2543 (2000) | 1. J.A. Bay, K.H. Stokoe, II, M.T. McNerney, S. Soralump, and D. Van Vleet., 2000. “Evaluation of runway pavement at SEA-TAC International airport using continuous deflection profiles measured with the rolling dynamic deflectometer” 2000 Annual meeting of transportation research board, 2000 |
พ.ศ. 2542 (1999) | 1. D.T. Bergado, S. Soralump, D.G. Lin and A.S. Balasubramaniam., 1999. “Mix Design of Soil mixing Method for Rehabilitation of Bangna-Bangpakong Highway, Bangkok, Thailand” 11th International society of Soil Mechanics and Geotechnical Engineering Asian Regional Conference, August 1999, Soul, Korea. |
พ.ศ. 2540 (1997) | 2. S. Soralump, D.T. Bergado and A.S. Balasubramaniam., 1997. “Soil cement deep mixing method for rehabilitation of Bangna-Bangpakong highway” 34th Symposium on Engineering Geology and Geptechnical Engineering, Utah State University, Logan Utah, 1997 |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- จตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ม.)
- ตริตาภรณ์ ช้างเผือก (ต.ช.)
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)