เมนู

ออกแบบ ‘จัดการน้ำ’ ก้าวข้ามวังวนเดิม ๆ รับมือโลกผันผวน (14 มิ.ย. 2024)

ภาวะ โลกร้อน โลกเดือด คือสัญญาณสำคัญที่เป็นภัยคุกคามคนทั้งโลก นี่อาจเป็นหายนะที่มาพร้อมกับภัยพิบัติอย่างไม่มีวันลด

แล้วภัยพิบัติของไทยที่เผชิญกันทุกปี ก็ยังหนีไม่พ้น น้ำท่วม-น้ำแล้ง จนไม่ว่ารัฐบาลไหน ๆ ก็ต้องแก้ปัญหา และสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือทุกปีซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ปัญหาก็ยังอยู่เหมือนเดิม ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่สังคมอาจต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพื่อหาทางออกผ่านนโยบายที่ถูกทาง

เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า การแก้ปัญหายังเป็นไปในทิศทางสั่งการจากนโยบายของฝ่ายการเมือง ในลักษณะบนลงล่างที่สร้างการมีส่วนร่วมได้น้อย Policy Forum ครั้งที่ 3 จึงเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพูดคุย ระดมสมอง เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันในประเด็นการแก้ปัญหาด้านน้ำ

ผ่านตัวแทนนักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรด้านน้ำของไทยทั่วประเทศ ให้ทุกฝ่ายเปิดใจร่วมสะท้อนแนวทางการจัดการน้ำ และหาทางออกร่วมกันจนนำมาสู่การออกแบบข้อเสนอเชิงนโยบาย สร้างการมีส่วนร่วม จนเกิดนวัตกรรมด้านน้ำที่สามารถต่อยอดไปสู่การรับมือด้านน้ำที่ดีขึ้น

ไทยอยู่ในวังวน ท่วม – แล้ง ซ้ำซาก

ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับวังวนปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ซ้ำซากที่เกิดจากความแปรปรวนสภาพอากาศ ซึ่งหลายเหตุการณ์ทั้ง อุทกภัยใหญ่ และภัยแล้งหนักที่เกิดขึ้น กลายเป็น “ภาพจำ” ของภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี

  • ปี 2547-2548  “เขื่อนน้ำน้อยเป็นประวัติการณ์”   

ปรากฏกการณ์คลื่นความร้อน เอลนีโญ ที่ผ่านเข้าแถบเอเชียตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ทำให้ไทยเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง และแล้งต่อเนื่อง  ภัยแล้งที่ต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2548 ยิ่งทำให้ภาคเกษตรขาดแคลนน้ำมาก โดยปริมาณน้ำในเขื่อนภาคอีสาน และภาคกลาง อย่างอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ ลำตะคลอง ทับเสลา  และ กระเสียว ลดน้อยลงเป็นประวัติการณ์ ถึงขั้นวิกฤต

ขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออก อ่างเก็บน้ำหลายแห่งต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 14-29  อย่างเช่น อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และคลองสียัด หลายพื้นที่ในจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และตราด เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ทั้งในภาคการอุปโภค บริโภค ภาคเกษตร และอุตสาหกรรม  

  • ปี 2554  “มหาอุทกภัย”

อิทธิพลโดยตรงและโดยอ้อมจากพายุที่เคลื่อนตัวจากทะเลจีนใต้ถึง 5 ลูก ตั้งแต่ พายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก  รวมถึงปริมาณน้ำสะสมในเขื่อนมีมาก และเมื่อมวลน้ำจากลุ่มน้ำยมไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยามากถึง 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  ทำให้เกิด “มหาอุทกภัย” น้ำท่วมในทุกภาคของประเทศ  

โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ถูกน้ำท่วมหนักและรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ไม่เว้นแม้แต่สนามบินดอนเมืองต้องจมน้ำ  

พื้นที่การเกษตรเสียหายถึง 11.2 ล้านไร่ ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายมากถึง 1.44 ล้านล้านบาท ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดและนำมาสู่การวางแผนรับมือในอุทกภัยในระยะยาวมากขึ้น

  • ปี 2557-2558  “แล้งหนักทั่วประเทศ”

อ่านเพิ่มเติมที่ https://theactive.net/data/managing-water-to-cope-with-global-warming/

Share your love