ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยิ่งนับวันยิ่งรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในวันที่โน้มการเติบโตของกิจกรรมการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อนาคตหากไม่ปรับตัวและวางแผนจัดการน้ำอย่างสมดุล อาจเผชิญกับความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ นักวิชาการด้านน้ำจึงได้ร่วมกันวางนโยบายเพื่อแก้ปัญหา ทั้งมุ่งเป้าให้ทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำ พร้อมเพิ่มนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการบริหารจัดการ
จากข้อมูลแนวทางบริหารแผนงานวิจัยเข็มมุ่งปัญหาการบริหารจัดการน้ำ พบว่า ปริมาณความต้องการน้ำมีมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุน โดยความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 1,500,000 ล้าน ลบ.ม. แต่มีน้ำต้นทุนอยู่ประมาณ 93,000 ลบ.ม. เมื่อเกิดภาวะฝนน้อยขึ้น สภาพการขาดแคลนน้ำจะรุนแรงมากขึ้น ขณะที่สภาพปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วม ก็มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีหลัง ซึ่งอาจโยงกับผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยิ่งนับวันยิ่งรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในวันที่โน้มการเติบโตของกิจกรรมการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อนาคตหากไม่ปรับตัวและวางแผนจัดการน้ำอย่างสมดุล อาจเผชิญกับความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ นักวิชาการด้านน้ำจึงได้ร่วมกันวางนโยบายเพื่อแก้ปัญหา ทั้งมุ่งเป้าให้ทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำ พร้อมเพิ่มนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการบริหารจัดการ
จากข้อมูลแนวทางบริหารแผนงานวิจัยเข็มมุ่งปัญหาการบริหารจัดการน้ำ พบว่า ปริมาณความต้องการน้ำมีมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุน โดยความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 1,500,000 ล้าน ลบ.ม. แต่มีน้ำต้นทุนอยู่ประมาณ 93,000 ลบ.ม. เมื่อเกิดภาวะฝนน้อยขึ้น สภาพการขาดแคลนน้ำจะรุนแรงมากขึ้น ขณะที่สภาพปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วม ก็มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีหลัง ซึ่งอาจโยงกับผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาพรวมการจัดการน้ำไทย
รศ.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกประเทศเมื่อมีเจริญเติบโต ความต้องการใช้น้ำก็มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจ จึงทำให้แนวโน้มการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น แต่ในมุมของการจัดหาน้ำเรามีข้อจำกัด โอกาสที่จะสร้างเขื่อนใหม่ก็ยากขึ้น และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ฝนไม่ตามฤดูกาล ทำให้การจัดการยากขึ้น แนวโน้มการขาดแคลนน้ำในอานคตก็จะมีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นกว่าในอดีต
“การจัดน้ำแต่ละภาคส่วนในแง่ความเสี่ยงเราต้องมองพื้นที่ไหนมีพื้นที่มากที่จะได้รับความเสี่ยง โดยสำหรับประเทศไทย ภาคกลาง และ พื้นที่ Eastern Economic Corridor (EEC) หรือ เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ที่รวมกันแล้ว ก็มี GDP รวมกันกว่า ร้อยละ 60-70 ถ้าจุดนี้มีปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็จะหยุดเลย ในแง่การโฟกัสต้องมองด้านนี้ ซึ่งหากมองแล้วก็มาแยกว่าภาคเกษตรคืออะไร ภาคอุตสาหกรรมคืออะไร ภาคบริหารคืออะไร บ้านเรือนคืออะไร แต่ในตรงนี้เราก็มาแยกแยะอีกว่า ภาคเกษตรเองมีการใช้น้ำมากที่สุดเกือบร้อย 70 เพราะถ้าเราลดภาคเกษตรร้อยละ 10-15 ได้มันก็จะมาใช้ในส่วนภาคอื่นได้ดียิ่งขึ้น หากทุกภาคส่วนยิ่งรวมกันทำก็จะยิ่งเพิ่มมูลค่าได้ดีมาก”
รศ.สุจริต กล่าวอีกว่า การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วย คือส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดตัวช่วยที่ดี อย่างเช่น ภาคเกษตรเองที่มักจะมีปัญหาว่าภูมิอากาศโลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง อาจผลิตข้าวเป็นรายได้หลักอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ควรมีทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อปรับสู่การเปลี่ยนแปลง ส่วนภาคอุสาหกรรมการใช้น้ำ ที่มีตลอดเวลา บางแห่งที่เคยใช้ 24 ชั่วโมง หากมีการหยุดในกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเกิดผลกระทบเพราะฉะนั้น อุตสาหกรรมก็ต้องประเมินความเสี่ยง หาแหล่งน้ำสำรอง หรือไม่ก็อาจต้องใช้น้ำซ้ำ เป็นการประหยัดน้ำไปในตัว เป็นมาตรการเสริม ส่วนในภาคของบริการคงเน้นอาคารใหญ่หรือเน้นการใช้น้ำในช่วงเสาร์ -อาทิตย์ โดยเฉพาะภาคโรงแรมและห้างสรรพสินค้า ตรงนี้ต้องมีมาตรการเสริมทั้งในแหล่งน้ำสำรองและการใช้น้ำซ้ำในตัวมันเอง ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลักการก็ควรใช้น้ำอย่างประหยัด และเก็บน้ำไว้ในยามจำเป็นในส่วนนี้การจัดการในไทยก็ให้ความสำคัญกับภาคอุปโภคและบริโภคอยู่แล้ว การขาดแคลนอย่างมากมายอาจจะไม่มี แต่ภาพรวมแล้วก็ควรจะมีแหล่งน้ำสำรองตัวเอง
แผนระยะยาวที่ต้องลดการใช้น้ำ
อนาคตประเทศไทยอาจเสี่ยงขาดแคลนน้ำ หากไม่ทำอะไรเลย เพราะแนวโน้มจะมีการเติบโตมาจากการที่เรามีกิจกรรมต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น เช่น ถ้ามีการเติบโต 4-5 % ถ้ามองระยะยาว 10-20 ปี ถ้าเราสามารถประหยัดน้ำได้ 20 % ก็จะสามารถชดเชยในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น อนาคตข้างหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราควรจะมี Buffer 10-20 % แล้วเราก็หาแหล่งน้ำสำรองอีก 10-20 % มันก็จะได้เกิดเป็นสมดุลใหม่ อย่างการเติบโตใช้น้ำไปมันก็มีวันหมด หรือถ้าเกิดแล้งจริง ๆ เลยมันก็ต้องอยู่ได้ เราต้องมีแผน 2 แผน แผนประหยัดน้ำ และแผนใช้น้ำสำรอง และแผนเผื่อสำหรับยามฉุกเฉินนี้คือภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ต้องเผื่อไว้เลย
ตอนนี้แผนยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี เป็นอย่างไร
แผนยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี โดยรวม ๆ ในเรื่องของการสร้างความมั่นคง สร้างรายได้ และสร้างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นโดยภาพรวมยังเป็นอยู่ แต่ว่าผ่านไป 5 ปีแล้ว พ.ร.บ.น้ำ ออกมาแล้วเราก็ยังจัดความสมดุลในเรื่องการจัดการ และการจัดหาที่ยังไม่สอดคล้องกัน ขณะที่กรรมการลุ่มน้ำเองที่มีหน้าที่จัดสรรเรื่องนี้ก็ยังเพิ่งเริ่มทำงาน เป็นช่องว่างที่การดำเนินการที่อาจไม่ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างในเรื่องเอลนีโญที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเราควรจะมีแผน 1 ปี 2 ปี หรือเปล่าใครจะเป็นคนทำ และทำแล้วฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะมีกลไกอย่างไรที่จะไปส่งเสริมหรือไปบังคับใช้เป็นไปตามแผนที่เกิดขึ้น ยังมีช่องว่างตรงนี้อยู่มาก
มองอนาคตกับการบริหารจัดการน้ำ
ก่อนหน้านี้ องค์การสหประชาชาติประกาศเข้าสู่เอลนีโญแล้ว เราก็ตั้งสมมติฐานอยู่ 3 ตัวคือถ้ามีเอลนีโญ1 ปี 3 ปี เราควรจะทำอย่างไรบ้าง ตามหลักการวางแผนทุกคนควรจะวางแผนเผื่อเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดก่อนแต่ถ้ามันดีมันก็จะส่งผลอนาคต เพราะจะทำให้มีน้ำเหลือ แต่ถ้าเราทำแบบปีต่อปี ปีที่ 2 ปีที่ 3 อาจจะแย่ แม้ในหน่วยงานราชการจะพยายามทำอยู่บ้างแต่ทุกภาคส่วนต้องกลับมามองตัวเอง เพราะจากงานวิจัย พบว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางครั้งก็รอเป็นอาทิตย์ แต่ปัจจุบันวิทยาการในการวิจัย สามารถที่จะทำนายล่วงหน้าได้ 3 ชั่วโมง 14 วัน และก็ 3 เดือนแล้ว เราควรเอาข้อมูลในอนาคตมาวางแผนประกอบในปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน ก็ควรใช้ระบบเซนเซอร์ IOT หรือ Internet of Things ก็คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราจะรับรู้ข้อมูลในจุดที่สำคัญได้ทุก ๆ 15 นาที ในแง่นี้ ทุก ๆ อบต. จะรู้ว่าตัวเองมีน้ำอยู่เท่าไหร่และล่วงหน้าอีก 2 สัปดาห์แนวโน้มจะเป็นอย่างไรเราสามารถจะแจ้งสมาชิกของพวกเราได้และก็สามารถลดการใช้น้ำได้ วันนี้การบริหารน้ำโดยอาศัยข้อเท็จจริงและอาศัยข้อมูลที่ทำนายอนาคตประกอบ ช่วยการวางแผน การบริหารจัดการน้ำได้ดีขึ้น
การใช้เทคโนโลยีลดการใช้น้ำและสร้างส่วนร่วมในภาคเกษตรทำอย่างไรได้บ้าง
โครงการชลประทานของประเทศเรามีประมาณร้อยละ 22 และใช้น้ำประมาณเกือบร้อยละ 70 โครงการชลประทานมีความสำคัญที่จะสร้างรายได้ ความมั่นคง อย่าง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง (คบ.ท่อทองแดง) เป็นโครงการที่ถูกเลือกให้เป็นต้นแบบลดการใช้น้ำด้วยการใช้เทคโนโลยีเสริม และยังสร้างการมีส่วนร่วมลดขัดแย้งในอดีตได้
“สิ่งที่เราทำคือคนที่มีหน้าที่ส่งน้ำและการใช้น้ำต้องมีข้อมูลเดียวกันว่าความต้องการแบบนี้ เรามีเซนเซอร์ที่แปลงนาว่ามันแห้งมันเปียกแบบนี้ก็ขอน้ำในส่วนที่ต้องการจริง ๆ เพื่อส่งจากที่จัดหาแล้วแล้วได้ โควต้ามา ก็จะสามารถจัดการน้ำและส่งน้ำได้ตามเวลา คลองเดียวกัน แต่การใช้น้ำมีการจัดคิว คนนี้ได้ 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน ก็สามารถจัดระบบให้คุยกันได้ และการจัดน้ำคือมีคนใช้น้ำที่จัด จริง ๆ และพอใช้เสร็จก็รอส่งใหม่”
“สิ่งที่เราทำคือคนที่มีหน้าที่ส่งน้ำและการใช้น้ำต้องมีข้อมูลเดียวกันว่าความต้องการแบบนี้ เรามีเซนเซอร์ที่แปลงนาว่ามันแห้งมันเปียกแบบนี้ก็ขอน้ำในส่วนที่ต้องการจริง ๆ เพื่อส่งจากที่จัดหาแล้วแล้วได้ โควต้ามา ก็จะสามารถจัดการน้ำและส่งน้ำได้ตามเวลา คลองเดียวกัน แต่การใช้น้ำมีการจัดคิว คนนี้ได้ 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน ก็สามารถจัดระบบให้คุยกันได้ และการจัดน้ำคือมีคนใช้น้ำที่จัด จริง ๆ และพอใช้เสร็จก็รอส่งใหม่”
มุมมอง เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ลดการใช้น้ำแบบไหน
สำหรับ EEC ประเมินว่าใช้น้ำอยู่ที่ 1,000 กว่าล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งต่อไปแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,000 ล้านลุกบาศก์เมตร ในระบบ ในปัจจุบันที่สามารถสร้างท่อเชื่อมอย่าง EEC ใช้น้ำจากฉะเชิงเทราและฝั่งจันทบุรีเข้ามาช่วยเพราะฉนั้นการสูบน้ำก็จะสูบน้ำในหน้าฝน ถ้ารู้แนวโน้มน้ำจะดี เราจะได้รู้ว่าควรสูบมากสูบน้อย เป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจ การสูบน้ำเป็นพลังงานค่าไฟฟ้า ถ้าประหยัดตรงนี้ได้ก็จะประหยัดไฟและจะได้น้ำตามสมควร
“อีกด้านหนึ่งคือผู้ใช้ ที่ตามโรงงานต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้หลักหรือตามโรงแรม ถ้าเรารู้ว่าช่วงนี้น้ำไม่ค่อยดีหลายแห่งก็ต้องช่วยประหยัดน้ำแล้ว เช่นหากประเมินแล้วว่าช่วงนี้น้ำวิกฤตแล้ว อาจต้องใช้น้ำซ้ำจากน้ำที่ระบายทิ้งทะเลเปล่า ๆ ก็คิดเอามาใช้ใหม่ในส่วนที่เป็นสีเขียวที่เรียกหล่อเย็น ส่วนนี้ก็จะช่วยลด demand ขึ้นมาโดยเฉพาะช่วงวิกฤต หากต้องสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้นมาแต่ละปี ในส่วนนี้ก็ต้องหารูปแบบกลไกบนข้อมูลใช้ข้อมูลด้านนวัตกรรมให้ทำให้ทันสมัยมากขึ้นก็จะนำไปสู่การจัดการที่สมดุลที่ตกลงกันได้”
ในแง่ที่มีการตรวจวัดจัดหาในคูคลองต่าง ๆ ตามแม่น้ำ และสูบขึ้น นักวิจัยบอกว่าการทำนายฝน หรืออะไรต่าง ๆ เราพัฒนาได้ดีขึ้นได้ส่วนในโรงงานเองสิ่งที่ติดตั้ง 3R หรือ กระบวนการ 3Rs ลดการใช้ (Reduce) และใช้ซ้ำ (Reuse) หรือแปรรูป ใช้ใหม่ (Recycle) ขณะนี้ยังมีปัญหาก็ คือว่าต้องใช้คนเข้าไปจับตาดู แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีข้อมูลมันก็จะส่งอัตโนมัติ โดย Wi-Fi ในโรงงาน จะสามารถใช้ข้อมูล และถ้าเราใช้น้ำเกินเราก็หล่อน้ำไม่ต้องรอข้ามวัน ไม่ต้องใช้คน ใช้คนเท่าเดิม เราก็ไปทำอยู่ประมาณ 30-40 โรงงานในแต่ละประเภท ซึ่งเรามี ทั้งหมดกว่า 7,000 โรงงาน ใน EEC 3,500 อยู่ในนิคม และ 3,500 อยู่นอกนิคม ซึ่งก็มีการสนับสนุนการใช้น้ำและประหยัดน้ำอยู่แล้ว ส่วนนอกนิคมก็มีสนับสนุนให้โรงงานเอาระบบนี้เข้าไปใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลน้ำของตัวเอง
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
1.ควรมีการใช้เทคโนโลยีให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพราะเทคโนโลยีราคาถูก
2.นำระบบเข้าไปติดตั้งในส่วนที่สำคัญก่อนเช่น ใน EEC หรือโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำเยอะ เราจะเป็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น
3. ในส่วนของตัวชุมชนในกลุ่มผู้ใช้น้ำปัจจุบันระบบของเซนเซอร์ (Sensor) หรือไลน์ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้จากเซนเซอร์ สามารถที่จะเข้าผ่านกรมชลประทานและสามารถส่งไปที่ไลน์ชาวบ้าน จะทำให้พวกเขารู้แล้วว่าน้ำมีจริงหรือไม่มีจริง และถ้ามีเท่าไหร่ก็จะได้วางแผนปลูกที่เหมาะสม ที่เหลือก็จะไปลูกพืชเกษตร อื่นที่เป็นทางเลือกเช่นพืชสมุนไพรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นเขาก็จะใช้น้ำลดลงแต่มีรายได้เพิ่มขึ้นได้ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากกรมต่าง ๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่จะไปใช้เครื่องมือเหล่านี้ และก็สอน
ซึ่งปัจจุบันนี้มีการโพรโมต การทำแผนน้ำระดับตำบล โดยระบบสารสนเทศการทำแผนที่ เราต้องมีผังน้ำระดับตำบล ต้องรู้น้ำมีเท่าไหร่น้ำใช้เท่าไหร่ เมื่อเรามาทำสมดุลน้ำเราก็จะรู้ว่าน้ำเราขาดเท่าไหร่และจะมาจากไหนได้บ้างส่วนนี้ ถ้าให้ตำบลเป็นเจ้าภาพดูแลก็จะทำให้ตำบลสามารถรู้บางครั้งไม่พอก็แบ่งน้ำกันได้ไม่พอก็จะไปขอจากกลุ่มอื่นก็จะรู้ว่าจะขอเท่าไหร่ด้วย นี้คือส่วนหนึ่งที่ตัววิทยาการ หรือเครื่องมือสารสนเทศสามารถช่วยได้ทำให้แก้ปัญหาได้ทันเวลาปัจจุบันที่จริงระบบสาระสนเทศมันสามารถจะเชื่อมได้ ถ้ามีเจ้าภาพอาจรวมกันที่ อบต. และ อบจ. อาจจะดูภาพรวมทั้งจังหวัดของตัวเองได้ว่าจะใช้รถน้ำ หรือขุดลอกหรือว่าจะช่วยในจุดที่เขาต้องการจริง ๆ ขึ้นมาได้ซึ่งตอนนี้เราก็ยังทำให้ 3 จังหวัดเป็นตัวอย่าง ซึ่งถ้าทางกระทรวงสนใจก็ขยายผลเพิ่มเติมได้
รศ.สุจริต กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศน้ำที่ไม่แน่นอน อาจต้องเลือก สิ่งที่เหมาะสมและแก้ปัญหาได้จริง จึงอยากเน้นในเรื่องวิทยาการและเทคโนโลยีกับการจัดการน้ำให้มาก สุดท้ายคือหัวใจสำคัญการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อใช้ข้อมูลระบบที่มีอยู่ให้กฏกติการ่วมกันในการจัดสรรน้ำที่เป็นธรรมตกลงกันได้จะช่วยให้ชุมชนอยู่ด้วยกับระบบได้ดียิ่งขึ้น เราพยายามสื่อสารการใช้น้ำอย่างประหยัดเพิ่มมูลค่าและใช้วิทยาการสมัยใหม่